Page 49 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 49
อย่างไรก็ดี ในอินเดียไม่มีการน าเทพและเทพีทั้งสององค์มา
รวมกันเป็นแผ่นเดียวกัน (อยู่คนละด้าน) แบบที่พบในวัฒนธรรมทวารวดี
ทั้งยังมีข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกว่า รูปเทพีคช-ลักษมีมีรูปแบบคล้ายกับศิลปะ
หลังคุปตะของอินเดีย และน่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 14
อันสอดคล้องกับข้อเสนอที่ว่า เมืองท่าในสมัยทวารวดีมีความรุ่งเรือง
สูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14–16 ดังนั้นประติมากรรมดังกล่าวคงเป็น
เครื่องรางที่พ่อค้าทั้งชาวอินเดียและชาวพื้นเมืองใช้ติดตัวในการเดินทาง
ค้าขายในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14–15 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย
แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการค้าในหนังสือ “(ศรี)ทวารวดี: ประวัติศาสตร์
ยุคต้นของสยามประเทศ”
ธิดา สาระยา นักประวัติศาสตร์ผู้คร ่าหวอดในการศึกษา
ประวัติศาสตร์ของรัฐโบราณในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้พยายาม
ใช้ข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานเอกสารมาอธิบายความ
เคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์ของรัฐทวารวดี แนวคิดส าคัญเกี่ยวกับ
เศรษฐกิจการค้าที่ปรากฏขึ้นในงานชิ้นนี้สามารถแยกได้เป็น 2 กรณีหลัก คือ
1. ก าเนิดของรัฐทวารวดีกับการค้าทางทะเลของโลกสมัย
3
โบราณ
ในกรณีนี้ ธิดา สาระยา เสนอว่า ชุมชนโบราณในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้มีการติดต่อสังสรรค์กันมาแล้วตั้งแต่ช่วงสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์และหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์ โดยมีอินเดีย จีน และเวียดนามอยู่
ในเครือข่ายการค้าขายแลกเปลี่ยนนี้ด้วย โดยที่นโยบายการขยายตัวของ
จีนผนวกกับความสามารถในการเดินเรือของชนพื้นเมืองเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ได้น าไปสู่การจัดตั้ง “เมืองท่าชายฝั่ง” ตรงจุดที่เป็นศูนย์กลางการ
คมนาคม ซึ่งเมืองท่าชายฝั่งที่ส าคัญที่สุดในช่วงแรกเริ่มประวัติศาสตร์
ราวพุทธศตวรรษที่ 6 ที่จีนบันทึกเอาไว้ก็คือ “ฟูนัน”
38