Page 50 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 50
ในขณะที่ฟูนันซึ่งมีเมืองท่าส าคัญคือ ออกแก้ว ทางตอนใต้ของ
เวียดนาม คอยควบคุมเส้นทางบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น ้าโขง
เมืองอู่ทองที่จังหวัดสุพรรณบุรีก็เจริญขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8
เพื่อควบคุมเส้นทางบริเวณลุ่มแม่น ้าเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก และสองเมืองนี้
ก็มีหลักฐานที่คล้ายกันอันแสดงให้เห็นถึงบทบาทด้านการค้ากับชุมชน
โพ้นทะเล จนกระทั่งได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการค้าโลก
ธิดา สาระยา มีความเห็นว่า เมืองท่าชายฝั่งทั้งฟูนัน (ออกแก้ว)
และอู่ทองคงมีการติดต่อกับชุมชนหรือชนเผ่าต่างๆ ที่อยู่ตอนในแผ่นดิน
ซึ่งคอยควบคุมทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นปัจจัยส าคัญที่น าไปสู่การก่อตัว
ของรัฐ ซึ่งธิดาเข้าใจว่าเมืองอู่ทองก็คือ “จินหลิน” ในเอกสารจีน (หรือ
4
“กิมหลิน”) จนกระทั่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจึงเกิดเมืองนครปฐมและเมือง
คูบัวขึ้น พร้อมๆ กับที่ฟูนันลดบทบาทลงในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 11
จนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–13 จึงมีศูนย์กลางการเดินเรือและ
การค้าทางทะเลแห่งใหม่เกิดขึ้นในทะเลชวา นั่นคือ “ศรีวิชัย” ท าให้เมือง
นครปฐมซึ่งตั้งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลมากกว่าเมืองอู่ทองได้เจริญขึ้นมาแทนที่
และเมืองนครปฐมก็มีความรุ่งเรืองอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13–14
ขณะเดียวกันก็ได้เกิดเครือข่ายระหว่างเมืองนครปฐม คูบัว และอู่ทอง
ซึ่งเป็นฐานทางด้านเกษตรกรรมและการค้าของรัฐทวารวดีที่ธิดาก าหนด
เรียกว่า “รัฐในลุ่มน ้าล าคลอง” (Riverine State)
กล่าวโดยสรุปคือ ธิดา สาระยา เสนอว่า ระบบการค้าทางทะเล
ของโลกโบราณซึ่งก่อให้เกิดเมืองท่าชายฝั่ง คือ ฟูนัน (ออกแก้ว) และ
จินหลิน (อู่ทอง) เป็ นปัจจัยที่น าไปสู่การก่อตัวของรัฐทวารวดี
เพื่อควบคุมและเชื่อมโยงเส้นทางการค้าทางทะเลจากภายนอกกับแหล่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ (หรือผู้คน) ที่อยู่ภายในแผ่นดิน โดยมีเครือข่ายเมือง
โบราณที่ส าคัญที่สุดอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น ้าท่าจีน-แม่กลองคือ อู่ทอง-
นครปฐม-คูบัว
39