Page 214 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 214
3.3 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาสุขภาวะส�าหรับเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึก
และอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี โดยใช้แผนปฏิบัติการ เป็นการศึกษา
โดยการใช้ระเบียบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินผลการใช้แผนปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม Good Food
Good Health กิจกรรม Fit for health กิจกรรม อารมณ์ดี และกิจกรรม ยาสูบอย่าสูบ
ต่อการพัฒนาสุขภาวะส�าหรับเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
หญิงบ้านปรานี ประเมินผลความส�าเร็จของการช่วยเลิกบุหรี่ที่ระยะ 3 เดือน 6 เดือน
ของเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี และประเมินผลการใช้แผนปฏิบัติการ ต่อภาพ
รวมของสุขภาพกายและสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี ซึ่งประกอบ
ด้วยปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ภูมิล�าเนา น�้าหนัก ส่วนสูง
ดัชนีมวลกาย สัญญาณชีพ โรคประจ�าตัว ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต/การผ่าตัด
โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จ�านวน 22 คน
การเก็บรวบรวมข้อมูล ระยะเริ่มแผนปฏิบัติการในการพัฒนาสุขภาวะ
ส�าหรับเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี
โดยบูรณาการกับการจัดเมนูอาหาร การทดสอบสมรรถภาพทางกาย การเรียน
โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ และโปรแกรมบ�าบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตวิทยา ในช่วงเดือน
กันยายน - ธันวาคม 2564 โดยทีมผู้วิจัยประชุมพยาบาลวิชาชีพ และทีมสหวิชาชีพ
ในศูนย์ฝึกฯ เรื่อง การพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชน โดยให้มีการบูรณาการร่วมกับ
การจัดเมนูอาหารการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การเรียนโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ
และโปรแกรมบ�าบัดแก้ไขฟื้นฟูด้านจิตวิทยา การบันทึกข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วม
กิจกรรม หลังจากการด�าเนินการตามแผนงาน ผู้วิจัยได้รับแบบบันทึกข้อมูลที่เก็บ
ข้อมูลถึง 3 เดือน จ�านวน 22 ชุด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมส�าเร็จรูป สถิติพรรณนา
(Descriptive Statistics) ที่ใช้คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายให้เห็นลักษณะของปัจจัยส่วนบุคคล การใช้
t-test แบบ Paired เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 213
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research