Page 291 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 291
(2.2439) ตามล�าดับ
เยาวชนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโภชนาการที่เสี่ยง(ไม่ควรบริโภคบ่อย
เกินไป) เช่น ไม่รับประทานอาหารถุงๆ จากร้านข้าวแกง อาหารผัดน�้ามัน อาหาร
ทอดทุกชนิด แกงกะทิทุกชนิด ขนมปัง เบเกอรี่ เค้ก และเครื่องดื่มประเภทน�้าหวาน
น�้าปั่น น�้าอัดลม ชาไข่มุก กาแฟ เป็นต้น โภชนาการที่มีประโยชน์ ควรบริโภคเป็น
ประจ�าอยู่ในระดับดี เช่น การรับประทานผลไม้ตามฤดูกาล อาหารน�้าพริก ผักจิ้ม
เป็นต้น
เมื่อเปรียบเทียบทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารทั่วไป ทัศนคติ(ความชอบ
เกี่ยวกับอาหารที่ชอบ และความรู้หรือความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมบริโภคต่อ
สุขภาพ พบว่าหลังร่วมกิจกรรมปฏิบัติการเด็กและเยาวชน มีการเปลี่ยนแปลงทุก
หมวดในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05
โดยสรุปเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคของเด็กและเยาวชนใน
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านอุเบกขา ก่อน - หลัง การท�ากิจกรรม
พบว่า หลังจากการท�ากิจกรรม เยาวชนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโภชนาการที่เสี่ยง
(ไม่ควรบริโภคบ่อยเกินไป) มีทัศนคติในการการบริโภคอาหารที่ตนเองชอบ และมี
พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเยาวชนมีความรู้ในเรื่องของหลัก
โภชนาการที่ถูกต้อง มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ถูกต้องในการรับประทานอาหาร
รู้จักเลือกอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเอง รวมถึงสามารถเป็นแกนน�า
รณรงค์ เผยแพร่ ให้ความรู้ และแบบอย่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดีแก่
เยาวชนรายอื่นๆได้
ดังนั้นการจัดกิจกรรมผักสวนครัวจากรั้วศูนย์ฝึกฯบ้านอุเบกขา สดสะอาด
ปลอดภัยไร้สารฆ่าแมลง จะช่วยท�าให้เด็กและเยาวชนได้รับความรู้และเลือก
รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ตรงกับวัตถุประสงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การบริโภคของเด็กและเยาวชนและสนับสนุนให้เยาวชนรับประทานพืชผักสมุนไพร
และผลไม้ให้มากขึ้นได้รับความรู้เรื่องสารอาหารและวิตามินที่ได้จากการรับประทาน
พืชผักสมุนไพรและผลไม้ว่าสามารถป้องกันและรักษาโรคอะไรได้บ้าง มีสุขภาพกาย
แข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดีเยาวชนรู้จักการปลูกผักไว้รับประทานเองและยึดตาม
แนวหลักเศรษฐกิจพอเพียง
290 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research