Page 16 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 16

2) ประเภทและความรุนแรงของสาธารณภัย ความรุนแรงและความหลากหลายของ
               ลักษณะสาธารณภัยประเภทเดียวกันที่แตกตางกันในแตละพื้นที่มีผลกระทบตอภาวะสุขภาพของผูพิการแตละ

               คนตางกัน
                     4.2  ปญหาสุขภาพของผูพิการที่ประสบภัย

                          4.2.1 ปญหาสุขภาพดานรางกาย  สาธารณภัยกอใหเกิดปญหาสุขภาพดานรางกายของผูพิการทุก
               ประเภท  โดยเฉพาะผูพิการทางกายและการเคลื่อนไหว  เชน
                                  1) การบาดเจ็บ  ในระหวางการเตรียมรับสาธารณภัย  ระหวางการเคลื่อนยายหนีภัย
                                  2) มีปญหา/โรคใหมเกิดขึ้นหรืออาการของโรคเดิมรุนแรงขึ้น เนื่องจากขาดอาหาร ขาด

               ยา  ขาดเสื้อผา ไมมีที่อยูอาศัย
                            4.2.2 ปญหาสุขภาพดานจิตใจ  สาธารณภัยทำใหเกิดปญหาดานจิตใจของผูพิการทุกประเภท

               อาการที่สำคัญ คือ หวาดกลัว วิตกกังวล เครียด หงุดหงิด คับของใจ ไมสามารถปรับตัวเขากับสภาพแวดลอมที่
               เปลี่ยนไป บางครั้งซึมเศราได
                     4.3  กิจกรรมการพยาบาลผูพิการที่ประสบภัย

                         4.3.1 ระยะกอนเกิดสาธารณภัย พยาบาลสามารถใหความรูแกผูพิการ ครอบครัว และชุมชนในการ
               เตรียมตัวเพื่อรับสาธารณภัยที่นอกเหนือจากการเตรียมการในคนทั่วไป ดังนี้
                                  1) ผูพิการทางการเคลื่อนไหว

                                      - เตรียมถุงมือหนังเพื่อใชหมุน wheelchair ปองกันของมีคม  ทิ่มแทง
                                      - เตรียมแบตเตอรี่สำรอง  ถาใช wheelchair ชนิดใชมอเตอรไฟฟา
                                      - เตรียมยางสำรองและที่สูบลมยาง ถาใช wheelchair แบบสูบลม

                                  2) ผูพิการทางการมองเห็น
                                      - ศึกษาสัญญาณเตือนภัยและเสนทางหนีภัยของที่พักอาศัย/ชุมชน

                                      - เตรียมไมเทาสำรอง
                                      - ถาตองใชสัตวเลี้ยงนำทางใหเตรียมอุปกรณที่ใชผูกหรือลามเพื่อควบคุมสัตวเลี้ยง
                                       เนื่องจากเมื่อเกิดสาธารณภัยสัตวเลี้ยงอาจตกใจวิ่งพลานทั่วไป

                                  3) ผูพิการทางการไดยิน
                                      - เตรียมแบตเตอรี่สำรองของเครื่องชวยฟง
                                      - มีปายประจำตัวที่แสดงวาเปนผูพิการทางการไดยิน

                                      - ศึกษาสัญญาณเตือนภัยของที่พักอาศัย/ชุมชน
                                  4) สำหรับชุมชน พยาบาลควรใหคำแนะนำแกคณะกรรมการหรือผูนำชุมชนในประเด็น
                                    ตางๆ ตอไปนี้

                                      - จัดอบรมทีมผูชวยเหลือผูประสบภัยในชุมชนใหรูจักวิธีการชวยเหลือเคลื่อนยายผู
                                       พิการแตละประเภทอยางถูกตอง

                                      - จัดทำขอมูลผูพิการในชุมชน เพื่อความรวดเร็วในการชวยเหลือโดยระบุชื่อ ที่อยู
                                       และประเภทความพิการอยางชัดเจน
                                      - การเตือนภัยของชุมชนควรมีหลากหลายใหผูพิการทุกประเภทรับรูได





               16
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21