Page 21 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 21

การดูแลดานจิตใจในสถานการณสาธารณภัย

                                                                            อาจารยปราโมทย ถางกระโทก


               วัตถุประสงคเฉพาะเชิงพฤติกรรม
               เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแลว นักศึกษาสามารถ

                      1. บอกความหมายและความสำคัญของการดูแลดานจิตใจของผูประสบภัยได
                      2. อธิบายความแตกตางระหวางปฏิกิริยาทางจิตใจตอภัยพิบัติแบบปกติและที่ผิดปกติได

                      3. บอกวิธีการดูแลดานจิตใจผูประสบภัยในสถานการณสาธารณภัย ทั้งในระยะกอนเกิดภัย ขณะเกิด
               ภัยและหลังเกิดภัยได


               ความหมายและความสำคัญของการดูแลดานจิตใจในสถานการณสาธารณภัย

                      ภัยพิบัติ (Disaster) หรือสาธารณภัยเปนภัยที่เกิดขึ้นอยางรุนแรง อาจเกิดจากธรรมชาติหรือจากการ
               กระทำของมนุษย มักนำมาซึ่งความสูญเสียตอชีวิต ทรัพยสิน ตลอดจนสงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม
               สิ่งแวดลอม และความสูญเสียนั้นเกินกำลังความสามารถของคนในสังคมหรือชุมชนจะจัดการโดยใชทรัพยากรที่

               มีอยูได (ทวิดา กมลเวช, 2554) ภัยพิบัตินำมาซึ่งความสูญเสียอยางรุนแรงตอชีวิตและทรัพยสิน รวมทั้ง
               ความรูสึกปวดราวทางจิตใจจากการพลัดพรากและสูญเสีย ภัยพิบัติเกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
               เชน น้ำทวม ไฟไหม แผนดินไหว โคลนถลม หรือภัยจากคลื่นยักษสึนามิหรือจากน้ำมือมนุษย เชน ภัยสงคราม

               การกอการราย เครื่องบินตก การลอบวางระเบิด เปนตน ภัยพิบัติดังกลาวสงผลกระทบตอผูประสบภัย
               ในหลายดาน เชน ดานเศรษฐกิจเนื่องจากไมสามารถประกอบอาชีพและขาดรายได นำมาซึ่งความทุกขทรมาน
               ทางดานจิตใจ บางรายเกิดปญหาพฤติกรรมกาวราวเนื่องมาจากการสูญเสียที่เกิดขึ้น (Boyd, 2005)

                      ประเทศไทยประสบปญหาภัยพิบัติเชนเดียวกับประเทศตางๆทั่วโลก ภัยพิบัติในประเทศไทยเกิดขึ้น
               บอยครั้งและแตละครั้งมีระดับความรุนแรงหลากหลาย ภัยพิบัติที่เกิด ไดแก น้ำปาไหลหลาก ดินโคลนถลม

               อุทกภัย วาตภัยหรือแผนดินไหวที่เกิดขึ้นในภาคเหนือของประเทศไทย แมแตสึนามิก็เคยมีอุบัติการณขึ้นอยาง
               รุนแรงในภาคใตของประเทศ แตภัยพิบัติที่นับวารุนแรงและมีอุบัติการณเกิดบอยทุก ๆ ป ไดแก ภัยพิบัติ
               จากอุทกภัย ซึ่งทำความเสียหายใหกับประเทศมากกวาภัยพิบัติอื่นๆ (พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์, 2556) เพราะสงผล
               กระทบตอชีวิตและทรัพยสินของประชาชนตลอดจนระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ยังไมรวมผลกระทบดานจิตใจของ

               ผูประสบภัยซึ่งเปนความเสียหายที่ไมสามารถประเมินคาได ผูผานเหตุการณเลวรายที่ทำลายทั้งชีวิต ครอบครัว
               ตลอดจนทรัพยสิน จะมีสภาพจิตใจที่บอบช้ำ (Psychological trauma) มีความรูสึกตรอมตรมและเจ็บปวด

               ในจิตใจแสนสาหัส จากการพลัดพรากและสูญเสีย (อำไพรัตน อักษรพรหม และพรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์, 2556) จาก
               การศึกษาผลกระทบทางดานจิตใจเมื่อเกิดอุทกภัยของกรมสุขภาพจิตอางในวิลาวรรณ คริสตรักษาและคณะ
               พบวา บุคคลที่ไดรับผลกระทบจากเหตุการณจะเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล เศราโศก เสียใจ ทอแท

               เบื่อหนายสับสน และโดดเดี่ยว ซึ่งเปนปฏิกิริยาปกติของบุคคลเมื่อตองเผชิญกับการสูญเสีย แตเมื่อระยะเวลา
               ผานไป อาการเหลานี้จะยังคงอยูหากไมไดรับการแกไขปญหาหรือการชวยเหลือที่เหมาะสม อาจกลายเปน
               ปญหาทางสุขภาพจิตได (วิลาวรรณ คริสตรักษาและคณะ, 2557)





                                                                                                       21
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26