Page 22 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 22

นอกจากนี้ประเทศไทยยังประสบกับสถานการณการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
               (COVID-19) ตั้งแตเดือน มกราคม 2563 ขณะนี้สถานการณการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

               มีแนวโนมที่จะควบคุมไดดีขึ้น จากความรวมมือของประชาชน บุคลากรสาธารณสุข และทุกภาคสวน
               ในการเฝาระวังและดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ แตผลกระทบจากการระบาดและมาตรการในการควบคุมโรค มี

               ผลทำใหคนในสังคมที่รวมกันตอสูกับภาวะวิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เกิดขึ้นมาอยาง
               ตอเนื่องยาวนาน มีโอกาสเกิดความกดดัน ความเครียด และความวิตกกังวล สงผลตอสุขภาพจิตของ
               คนไทยเปนจำนวนมาก โดยจะเห็นไดจากปญหาดานสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีแนวโนมเพิ่มขึ้น จากการสำรวจ
               ภาวะเครียด (Stress) ของกรมสุขภาพจิต พบวาบุคลากรสาธารณสุข 8 ใน 10 คน และประชาชน 4 ใน 10 คน

               มีความเครียดและกังวลจากการทำงาน ซึ่งจะมีแนวโนมทำใหบุคลากรสาธารณสุขมีความเหนื่อยลาทางอารมณ
               รูสึกหมดพลัง หมดหวัง สูญเสียพลังทางจิตใจและนำไปสูภาวะเหนื่อยลาหมดไฟ (Burnout) สำหรับประชาชน

               อาจเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นและอาจเจ็บปวยดวย โรคทางจิตเวช เชน โรคซึมเศรา (Depression) เพิ่มขึ้น
               นอกจากนี้พบวาอัตราการฆาตัวตายมีแนวโนมที่สูงขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบขอมูลของป 2562 กับป 2563
               พบวาจำนวนประชากรที่ฆาตัวตายสำเร็จ (Suicide) เพิ่มขึ้นประมาณ รอยละ 20 จากสถานการณดังกลาว

               จึงตองมีการดำเนินงานดานสุขภาพจิตอยางเรงดวน โดยอาศัยความรวมมือของทุกภาคสวนในทุกเขตสุขภาพ
               เพื่อมุงเนนใหประชาชน ครอบครัว และชุมชน ปลอดภัยจากผลกระทบดานสุขภาพจิตในสถานการณ
               การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นี้ และมีความเขมแข็งทางจิตใจเต็มเปยมดวยพลัง สามารถ

               ปรับตัวเขาสูชีวิตวิถีใหม (New Normal) ได (กรมสุขภาพจิต, 2563)
                      จากการศึกษาจะเห็นถึงผลกระทบทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับผูประสบภัย และบุคลากรทางสุขภาพ
               จากภัยพิบัติประเภทตางๆ การเตรียมความพรอมในการชวยเหลือดานจิตใจในระยะกอนเกิดภัย ขณะเกิดภัย

               และหลังเกิดภัย จะชวยปองกันผลกระทบตางๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งชวยใหการฟนฟูสุขภาพจิตผูประสบภัยไดอยาง
               รวดเร็ว


               ประเภทของผูประสบภัยพิบัติ

                      ผูประสบภัยที่ไดรับผลกระทบทำใหเกิดปญหาสุขภาพจิต แบงไดออกเปน 3 กลุมดังนี้ (Boyd, 2015 &
               Kennedy, 2013)

                      1. กลุมที่ไดรับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ ไดแก ผูรอดชีวิต ญาติผูรอดชีวิต และหรือเสียชีวิต
               ผูสูญเสียทรัพยสินและอาชีพ ผูที่ไดรับบาดเจ็บทางรางกายและผูที่มีปญหาสุขภาพจิต
                      2. กลุมผูปฏิบัติหนาที่ชวยเหลือ ไดแก เจาหนาที่ที่ใหการชวยเหลือซึ่งอาจเปน เจาหนาที่ของรัฐ

               อาสาสมัคร หนวยกูภัย ผูนำชุมชน ซึ่งการปฏิบัติงานอยูในพื้นที่ดังกลาวอาจกอใหเกิดความเครียดได
                      3. กลุมบุคคลทั่วไปและประชาชนที่ติดตามขาวสารอยางใกลชิด ซึ่งบุคคลกลุมนี้ไดรับรูขาวสาร
               ภาพขณะเกิดเหตุการณ รวมทั้งไดรับขอมูลการสูญเสียที่เกิดขึ้นซ้ำๆ จนทำใหเกิดความรูสึกไมปลอดภัย

               รูสึกกลัว รูสึกเศรา สมาธิลดลง นอนไมหลับ หลีกเลี่ยงการพบปะผูคน มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ หรือใชสารเสพติด
               เพิ่มมากขึ้น








               22
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27