Page 27 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 27
กรณีผูใหญ ใช ST5 DS8 PISCES-10 กรณีเด็ก ใช Symptom Checklist PSC-P CDI CES-D CRIES-
13 ระยะนี้ใหการชวยเหลือ ผูประสบภาวะวิกฤตที่เปนกลุมเสี่ยงตามแบบประเมิน/คัดกรอง เชน โรคเครียด
ภายหลังเหตุการณสะเทือนขวัญ (PTSD) โดยมีการเฝาระวังติดตามใหการบำบัดอยางตอเนื่องตามสภาพปญหา
เชน การใหยา การใหการบำบัดทางจิต เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใหการปรึกษารายบุคคล ครอบครัว
บำบัด การใหขอมูลความรูโดยสื่อตางๆ การสอนทักษะการคลายเครียด
กรณีที่กลุมเสี่ยงอาการยังไมดีขึ้นใหการดูแลตอเนื่องโดยทีมฟนฟูสุขภาพจิต สวนกรณีที่กลุมเสี่ยงมี
อาการดีขึ้นใหสงตอเครือขายสาธารณสุข
บทบาทพยาบาล : การปฐมพยาบาลดานจิตใจ (Psychological First Aid)
1. ความหมายของการปฐมพยาบาลดานจิตใจ (กรมสุขภาพจิต, 2553) คือ การใหความชวยเหลือ
แกผูไดรับผลกระทบจากสถานการณรุนแรง เชน ผูสูญเสีย ผูไดรับบาดเจ็บและผูที่รอดชีวิต ทุกเพศ ทุกวัย
ไมเลือกชนชั้น และศาสนา โดยการเขาไปใหความชวยเหลืออยางเร็วที่สุดเทาที่จะทำได เพื่อลดและบรรเทา
อาการเจ็บปวดทางจิตใจโดยตอบสนองความตองการขั้นพื้นฐาน เสริมสรางความรูสึกปลอดภัยทั้งตอตนเองและ
สิ่งแวดลอมรอบตัว ตลอดจนสรางทรัพยากรและติดตอเครือขายทางสังคมระหวางผูประสบภัยกับผูประสบภัย
ญาติ และหนวยงานที่เกี่ยวของ
2. จุดมุงหมายของการทำปฐมพยาบาลดานจิตใจ (กรมสุขภาพจิต, 2553)
2.1 เพื่อลดความทุกขยากทั้งทางกายและทางจิตใจ เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ ผูประสบเหตุจะเกิด
ความทุกขหลายอยาง ผูไดรับผลกระทบจากภัยพิบัติโดยตรงมักไดรับบาดเจ็บและพบเห็นกับสภาพแวดลอมที่
เต็มไปดวยความรุนแรง จุดมุงหมายแรกและพื้นฐานของการทา PFA คือ การปฏิบัติหนาที่อยางเรงดวน เพื่อลด
ความทุกขทรมานทั้งทางกายและจิตใจที่เกิดขึ้น
2.2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการของผูประสบภัยหลังจากเผชิญเหตุภัยอันตราย
ขีดความสามารถในการรับรูและประมวลความคิดของผูประสบภัยจะมีจำกัด ในบางครั้งผูประสบภัย ไม
สามารถคิด และตระหนักถึงสิ่งที่ควรจะทำเปนลำดับแรกได การเขาไปชวยเหลือและสนับสนุนโดยไมชี้นำ ของ
ผูปฐมพยาบาลจะชวยใหผูประสบภัยเลือกกระทำไดสิ่งที่สมควร ชวยใหเกิดการคำดการณลวงหนาซึ่งมีผล
โดยตรงชวยในการปรับตัวของผูประสบภัยเอง
2.3 เพื่อชวยเหลือใหผูประสบภัยปรับตัวกลับสูสภาพเดิม การทำการปฐมพยาบาลทางจิตใจ
นอกจากการใหการสนับสนุนทางจิตใจเมื่อผูประสบภัยตองการแลว การชวยประคองใหพวกเขาใช coping
skills ที่เหมาะสมตอเหตุการณในขณะนั้นจะเปนผลดีตอการปรับตัวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2.4 เพื่อชวยประสานผูประสบภัยเขากับทรัพยากร ทรัพยากรในที่นี้มีความหมายทั้งทาง
กายภาพและจิตใจ ผูที่ประสบภัยมักจะอยูในอารมณที่เออลน (overwhelmed) ไมสามารถตัดสินใจรับขอมูล
ขาวสาร และทรัพยากรทางกายภาพที่ควรจะไดรับ (เชน ของบริจาค ไปจนถึงการติดตอเจาหนาที่ที่เกี่ยวของ)
3. ทักษะการสื่อสารในการดูแลดานจิตใจในผูประสบภัย
3.1 การฟงอยางใสใจ (Active Listening) คือ การตั้งใจฟงอยางใสใจตอเนื้อหาสาระและ
อารมณ ของผูประสบภัยที่แสดงออกมา
27