Page 29 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 29

3.7 การถาม (questioning) เปนการสอบถามเพื่อหาขอมูล รายละเอียดของสถานการณ
               ความคิดเห็น ความรูสึกของผูประสบภัย เพื่อใหผูใหการชวยเหลือเขาใจเรื่องราว เหตุการณตางๆ ไดมากขึ้น ทำ

               ใหเขาใจและสามารถใหการชวยเหลือไดอยางเหมาะสมมากขึ้น ขอควรคำนึงถึงในการใชคำถามผูใหการ
               ชวยเหลือไมควรถามคำถามจำนวนมาก ควรคำนึงถึงความรูสึกของผูประสบภัยรวมดวย ควรใชคำถาม

               ปลายเปดเพื่อใหผูประสบภัยรูสึกผอนคลาย ไมใชคำถามวา “ทำไม” ซึ่งจะทำใหผูประสบภัยรูสึกอึดอัดเหมือน
               ถูกคาดคั้นเอาคำตอบ
                      4. แนวทางการปฐมพยาบาลดานจิตใจตามหลักการของ PFA : EASE
                              4.1 E : Engagement

                              หมายถึง การที่ผูใหการชวยเหลือมีวิธีการเขาถึงผูประสบภัยไดอยางถูกตองและเหมาะสม
               สามารถสรางสัมพันธภาพจนไดรับความไววางใจจากผูประสบภัย วิธีการเขาถึงและการสรางสัมพันธภาพ

               ประกอบดวย 3 ส ไดแก
                              ส 1: สังเกตสีหนาทาทาง พฤติกรรมและอารมณโดยรวมของผูประสบภัย
                              ส 2: สรางสัมพันธภาพและแนะนำตัวเอง

                              ส 3: สื่อสารพูดคุยเบื้องตนโดยใชคำถามปลายเปดเชนถามถึงอารมณความรูสึกที่เกิดขึ้นใน
               ขณะนั้น
                              4.2 A : Assessment

                              หมายถึง การประเมินผูประสบภัยอยางครอบคลุมทั้งดานรางกาย จิตใจ และ สังคม
               ประกอบดวย 3 ป ไดแก
                              ป 1: ประเมินและตอบสนองความตองการอยางเรงดวนดานรางกายและจิตใจ เชน ปจจัย 4

               (ยา อาหาร น้ำ ที่พักพิง) ความปลอดภัย และบริการทางการแพทย
                              ป 2: ประเมินสภาพจิตใจประเมินวาผูประสบภัยกำลังอยูในระยะอารมณอยางไร เชน ช็อก

               ปฏิเสธ โกรธ ตอรอง เศราเสียใจ
                              ปฏิกิริยาเศราโศกจากการสูญเสีย (grieving process) Kubler-Ross ที่ไดแบงปฏิกิริยาเศรา
               โศก จากการสูญเสียเปน 5 ระยะดังนี้

                              1). ปฏิเสธ (denial) เปนระยะเวลาที่บุคคล พยายามปฏิเสธไมยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เปนกลไก
               ปกปองของบุคคลที่ตองเผชิญความจริงที่เจ็บปวด โดยพยายามรวบรวมแหลงประโยชนภายในและ ภายนอก
               เพื่อพยายามผอนคลายผลกระทบจากความสูญเสีย อาจมีอาการชา ขาดความรูสึกไปชั่วขณะ รูสึกตัวเองไมใช

               ตัวเอง และไมสามารถที่จะตั้ง เรียงลำดับเหตุการณที่เกิดขึ้นได ไมยอมรับวาเกิดการสูญเสียมักจะพูดวา “ไม
               จริง เปนไปไมได”
                              2). โกรธ (anger) โดยแสดงความโกรธตอการสูญเสียที่เกิดขึ้น โทษบุคคลที่เกี่ยวของหรือ

               สิ่งแวดลอม รูสึกวา ทำไมตองเกิดเหตุการณแบบนี้กับตนเอง ทำไมไมเกิดกับคนอื่น พยายามโทษวาเปน
               ความผิดของคนใดคนหนึ่ง รวมถึงโทษสิ่งที่ไมแนใจวามีจริงหรือไม เชน พระเจาหรือโชคชะตาดวย และที่พบได

               บอยก็คือ ความโกรธตอตนเอง
                              3). ตอรอง (bargaining) ในระยะนี้เริ่มมีการรับรูการสูญเสีย แตยังพยายามมองหาสิ่งตอรอง
               เพื่อปลอบใจในการที่ยังไมสามารถยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได เชน ยังไมสมควรที่จะเกิดเหตุการณแบบนี้ ขอให
               ผานชวงเวลานี้ไปกอน หรือขอแลกเปลี่ยนดวยชีวิตของตนเองแทน




                                                                                                       29
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34