Page 14 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 14

2) การดูแลดานจิตใจสำหรับผูสูงอายุในระยะเกิดสาธารณภัย ระยะนี้เปนชวงที่ตอง
               สังเกตและประเมินการบาดเจ็บทั้งทางรางกายและจิตใจของผูสูงอายุ พรอมทั้งบันทึกขอมูลเพื่อการติดตามดูแล

               อยางตอเนื่องในระยะตอไป การประเมินเพื่อการดูแล ไมใชการสำรวจปฏิกิริยาทางจิตใจ ขอมูลที่ควรบันทึก
               เชน ลักษณะการประสบภัย ภาวะดานรางกาย และดานจิตใจในปจจุบัน พฤติกรรมที่ผิดปกติ เชน การแสดง

               ความหวาดกลัว ตื่นตระหนก กาวราว ทำรายตนเอง ความจำสับสน โดยการสงตอเพื่อการติดตามดูแลดาน
               สุขภาพจิต ผูสูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือมีความพิการ เชน มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และอัมพาต
               ภาวะเครียดจากสาธารณภัยอาจทำใหภาวะของโรครุนแรงขึ้น และการปรับตัวของผูสูงอายุก็ใชเวลานานกวา
               กลุมวัยอื่น ๆ ดังนั้นการจัดการใหผูสูงอายุไดอยูกับครอบครัวจึงเปนสิ่งจำเปน เพราะนอกจากผูสูงอายุจะไดรับ

               การดูแลจากลูกหลานแลว ผูสูงอายุยังเปนศูนยรวมจิตใจของครอบครัว ทำใหครอบครัวมีกำลังใจในการฟนฟู
               สภาพในระยะตอไปอีกดวย

                                         3) ระยะหลังเกิดสาธารณภัยเปนชวงที่ผูสูงอายุมีความทุกขทรมานจากการบาดเจ็บทั้ง
               ดานรางกายและจิตใจ พยาบาลตองประเมินสภาพปญหาและผลกระทบดานจิตใจที่ผูสูงอายุไดรับ รวมถึง
               ประเมินแหลงชวยเหลือตางๆของผูสูงอายุดวย การดูแลดานจิตใจสำหรับผูสูงอายุในระยะนี้ตองดูแลหรือ

               ชวยเหลือใหผูสูงอายุมีความรูสึกปลอดภัยมากขึ้น มีอำนาจในการควบคุมมากขึ้น มีความสามารถในการ
               ติดตอสื่อสารและมีการชวยใหผูสูงอายุปรับความคิดและมุมมองเพื่อเตรียมรับภาวะทุกขยากตางๆที่อาจเกิดขึ้น
               ใหมได เชน

                                      - มองจุดดีและโอกาส เมื่อเผชิญกับเหตุการณหรือสถานการณที่เลวราย เชน ใน
               สถานการณสาธารณภัยจะเห็นการชวยเหลือเอื้อเฟอซึ่งกันและกัน การรวมแรงรวมใจ ความมีน้ำใจและความ
               สามัคคีของสมาชิกในครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ

                                      - มองเห็นสวนดีที่เหลืออยูแทนการมองสิ่งที่หายไปเพียงอยางเดียว เชน เสีย
               ทรัพยสินแตยังมีชีวิตอยู ยังสามารถหามาทดแทนใหมได

                                      - มองผูอื่นที่ทุกขยากและลำบากมากกวา จะทำใหเกิดกำลังใจในการมีชีวิตตอไป
                                      - คิดวาสาธารณภัยเปนสิ่งที่เกินการควบคุม หลีกเลี่ยงไมได ไมมีใครอยากใหเกิดขึ้น
               และถาเกิดการสูญเสียขึ้นก็ไมควรตำหนิและลงโทษใครคนใดคนหนึ่งหรือแมแตตนเอง

                            3.4.5 การดูแลผูสูงอายุที่ประสบภัยในศูนยอพยพ
                                       การมีที่อยูอาศัยเปนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานสำหรับผูประสบภัยทุกกลุมวัย  แตสำหรับ
               ผูสูงอายุจะตองคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกในการใชบริการ  ประเด็นสำคัญที่ควรคำนึงถึง ไดแก

                                         1) เขาใจความตองการและความสามารถของผูสูงอายุ สิ่งสำคัญตองฝกอบรมใหทีม
               สุขภาพตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรวบรวมขอมูล จำแนกตามเพศและอายุ เครื่องมือที่ใชในการ
               ประเมินรวมทั้งคำถามเกี่ยวกับความจำเปนและความสามารถของผูสูงอายุ ปญหาสุขภาพ การเขาถึงบริการ

               การมีสวนรวมของผูสูงอายุและสิ่งที่ตองการพัฒนาใหดีขึ้น
                                         2) มั่นใจวาผูสูงอายุมีสวนรวมและเปนตัวแทนการบริหารจัดการ โดยการปรับการสื่อสาร

               ที่เหมาะสมกับผูสูงอายุ เพิ่มโอกาสใหผูสูงอายุมีสวนรวมในการจัดการและเปนตัวแทนของชุมชน
                                         3) ผูสูงอายุสวนใหญออนแอ การไดรับการชวยเหลือดูแลในศูนยอพยพตองคำนึงถึง
               หลักการมนุษยธรรม





               14
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19