Page 10 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 10

ติดเชื้อที่มากับน้ำทวม เชน โรคที่มีน้ำและอาหารเปนสื่อ โรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคตาแดง เปนตน ใน
               ผูสูงอายุที่มีโรคประจำตัว จะมีปญหาขาดการมาตรวจตามนัด ขาดยา อาการเจ็บปวยรุนแรงหรือเพิ่มมากขึ้น

               (จักรกฤษณ พิญญาพงษ, 2551 พิพัฒน ลักษมีจรัลกุล, 2554 สุวราภรณ โพธิ์รมเย็น, 2555 และ สมจินดา
               ชมพูนุท และ วรรณเพ็ญ  อินทรแกว, 2556)

                        3.2.2 ผลกระทบดานจิตใจ  พบไดแตกตางกันไปขึ้นกับพื้นฐานประสบการณเดิม เพศ ฐานะทาง
               เศรษฐกิจ และแหลงสนับสนุนทางสังคมของแตละบุคคล อาการที่พบไดแก หวาดกลัว ขาดความสุข วิตกกังวล
               เครียด  จิตใจออนลา  ซึมเศรา  หากเรื้อรังสามารถเกิดปญหาทางจิตเวชได จากการประเมินสภาพจิตใจของ
               ผูสูงอายุที่ประสบอุทกภัย พบวา มีภาวะเครียด รูสึกมีความสุขโดยรวมนอยกวาปกติ (สมจินดา  ชมพูนุทและ

               วรรณเพ็ญ อินทรแกว, 2556)
                     3.3  ความตองการดานสุขภาพของผูสูงอายุที่ประสบภัย

                        สาธารณภัยกอใหเกิดความเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตของผูสูงอายุที่ประสบภัย ทำใหความ
               ตองการดานตางๆของผูสูงอายุแตกตางจากในภาวะปกติไดตามสภาพความจำกัดของผูสูงอายุแตละคน ที่สำคัญ
               ไดแก ความตองการดานปจจัย 4 ในการดำรงชีวิต และอาจมีความตองการบางอยางเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติดวย

               ดังจะเห็นไดจากการศึกษาวิจัย วิกฤตมหาอุทกภัยกับผูสูงอายุ : บทเรียนที่ตองหาทางออก
               (สุวราภรณ โพธิ์รมเย็น, 2555) โดยศึกษาความตองการของผูสูงอายุในสถานการณอุทกภัยในพื้นที่จังหวัด
               พระนครศรีอยุธยา พบวา ผูสูงอายุมีความตองการในเรื่อง

                         3.3.1 การไดรับขอมูลขาวสารของสถานการณจริงที่ถูกตองและทันเวลา
                         3.3.2 การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและระบบที่สามารถชี้ตำแหนงของครัวเรือนที่มีผูสูงอายุที่ตอง
               พึ่งพา ผูสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและตองการรักษาอยางตอเนื่อง

                         3.3.3 การชวยเหลือสนับสนุนที่รวดเร็ว ทันเวลา ทั่วถึงและสม่ำเสมอ
                         3.3.4 การเคลื่อนยายที่เหมาะสมทั้งในกรณีการอพยพและเมื่อเกิดความเจ็บปวย โดยเฉพาะความ

               พรอม ความเหมาะสมของยานพาหนะ และทักษะของผูใหการชวยเหลือ
                         3.3.5 ครุภัณฑและสถานที่ที่พำนักที่เหมาะสม เชน หองสุขาเคลื่อนที่ที่เอื้อตอการเขาใชของผูสูงอายุ
                         3.3.6 อาหาร น้ำดื่ม และถุงยังชีพที่สอดคลองกับบริบทของผูสูงอายุและผูที่มีโรคจำเพาะ

                         3.3.7 ยาและเวชภัณฑสำหรับผูที่เปนโรคเรื้อรัง และการไดรับทันเวลา
                         3.3.8 การสงเสริมฟนฟูภายหลังน้ำลดที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการดำเนินการที่ตองลดขั้นตอน
               ใหสะดวก

                     3.4  กิจกรรมการพยาบาลผูสูงอายุที่ประสบภัย
                        3.4.1 ระยะกอนเกิดสาธารณภัย พยาบาลมีหนาที่ที่จะตองเตรียมความพรอมทั้งของบุคคล อุปกรณ
               และชุมชน ดังนี้

                                  1) รวมศึกษาและวิเคราะหแนวโนมของการเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานและผลที่จะ
               เกิดกับผูสูงอายุเพื่อชวยใหวางแผนการรับมือกับสาธารณภัยและการดูแลผูสูงอายุไดเหมาะสม และเมื่อนำไปใช

               จะชวยปองกันและลดความรุนแรงที่เกิดจากสาธารณภัยไดอยางมีประสิทธิภาพ ในการวางแผนนี้ตองรวมกับ
               ประชาชนในพื้นที่ เพราะประชาชนในพื้นที่จะเขาใจสภาพชุมชน รูแหลงประโยชน การวางแผนรับมือควร
               กำหนดใหทราบวาบานใดมีผูสูงอายุ และมีขอมูลรายละเอียดเกี่ยวกับความพรองและความตองการการ





               10
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15