Page 6 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 6

- กลัว โดยกลัวทั้งการเจ็บปวย กลัวสัตวที่มากับน้ำ กลัวการจมน้ำและกลัวจะถูกคนแปลก
                                หนาทำราย

                               - เหงา จากการไมมีเพื่อนเลน เพื่อนคุย  ไมมีกิจกรรมที่ตองทำ
                               - เครียด จากเหตุการณสาธารณภัยและจากการถูกจำกัดพื้นที่

                               - กาวราว  ดื้อมากขึ้น
                               ไมเพียงแตปญหาสุขภาพดานรางกายและจิตใจเทานั้น สาธารณภัยยังสงผลกระทบตอ
               พัฒนาการของเด็กดวยโดยเฉพาะสาธารณภัยที่มีระยะเวลานาน เชน เหตุการณมหาอุทกภัยของประเทศไทย
               ในป พ.ศ. 2554 เด็กที่ตองยายจากบานไปอยูศูนยอพยพเกิดความเครียดสงผลใหเกิดพฤติกรรมถดถอย เชน

               ฝนราย ปสสาวะรดที่นอน ดูดนิ้ว เปนตน หรือแมแตเด็กที่ตองหยุดเรียนนานๆ เมื่อเกิดสาธารณภัยก็ทำใหการ
               เรียนรูของเด็กขาดความตอเนื่องได

                     2.2  ความตองการของเด็กที่ประสบภัย
                         สำหรับความตองการของเด็กที่ประสบภัยนั้น จากการศึกษาประเมินความตองการของเด็กซึ่งไดรับ
               ผลกระทบจากอุทกภัยในประเทศปากีสถาน เมื่อ ป พ.ศ. 2553 (Balochistan Relief and Development

               Network & Taraquee Foundation. อางในจุไร อภัยจิรรัตน และนันทกา สวัสดิพานิช, 2556) พบวา เด็กมี
               ความตองการอาหารและน้ำที่สะอาด ที่พักฉุกเฉิน การดูแลสุขภาพอนามัย ยาฉุกเฉินรวมถึงการดูแลสุขภาพ
               เบื้องตน ซึ่งคลายคลึงกับผลการศึกษาของจุไร อภัยจิรรัตนและนันทกา สวัสดิพานิช ที่ศึกษาในเด็กที่ประสบ

               อุทกภัยในกรุงเทพมหานครซึ่งพบวาในเด็กเล็ก (อายุ 1-6 ป) ผูปกครองตอบวาตองการนม อาหารสำหรับเด็ก ยา
               ผาออมสำเร็จรูป มุง และที่นอน เชนเดียวกับเด็กโต (อายุ 7-12 ป) ที่ตองการอาหาร น้ำดื่ม ขนมที่เคยรับประทาน
               เสื้อผา ยารักษาโรค รวมถึงตองการการดูแลเพื่อความปลอดภัย และการเสริมสรางพัฒนาการการเรียนรู

                         จะเห็นไดวาเด็กที่ประสบภัยก็มีปญหาและความตองการเชนเดียวกับคนในวัยอื่นๆ แตความรุนแรง
               ของปญหาหรือการบาดเจ็บอาจรุนแรงมากกวา และการชวยเหลืออาจแตกตางกัน เนื่องจากความสามารถใน

               การดูแลตนเองของเด็กมีจำกัด รวมถึงเด็กแตละวัยยังตองการการตอบสนองตามวัยดวย
                     2.3  กิจกรรมการพยาบาลเด็กที่ประสบภัย
                         การดูแลเด็กที่ประสบภัยนี้ ปจจัยที่สำคัญคือครอบครัว เพราะชวยตอบสนองความตองการและ

               สงเสริมการเจริญเติบโตรวมถึงพัฒนาการของเด็กไดเปนอยางดี นอกจากนี้ชุมชนและโรงเรียนก็เปนแหลง
               สนับสนุน  ชวยเหลือการดูแลดวย พยาบาลสามารถใหการดูแลเด็กที่ประสบภัยโดยการใหความรูแกครอบครัว
               ชุมชน โรงเรียน และตัวเด็กเอง ไดตามระยะของการเกิดภัย ดังนี้

                         2.3.1 ระยะกอนเกิดสาธารณภัย
                                  1) การจัดทำแผนสาธารณภัยของครอบครัว
                                         พยาบาลตองใหความรูและคำแนะนำในการจัดทำแผนสาธารณภัยแกครอบครัว โดยเนน

               ถึงการใหความสำคัญกับเด็ก ไดแก
                                         - จัดเตรียมอาหาร  เครื่องนุงหม  ที่เหมาะสมกับเด็ก

                                        - จัดเตรียมยาสามัญประจำบานสำหรับเด็กและยาที่ใชเฉพาะของเด็ก (ถามี)
                                         - จัดเตรียมหนังสือการตูน  เกม  ของเด็กเลนสำหรับเด็ก
                                         - จัดเตรียมอุปกรณปองกันตนเองสำหรับเด็ก เชน เสื้อกันฝน หมวก รองเทาพื้นหนา เปนตน
                                         - กำหนดจุดนัดพบของครอบครัวหากเกิดการพลัดหลง



               6
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11