Page 5 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 3 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 5

1.3 พิทักษสิทธิ์ในดานความตองการของประชากรกลุมเปราะบาง
                     1.4 ระบุทรัพยากรที่มีอยู การสงตอที่เหมาะสม และรวมกับองคกรตางๆในการสนับสนุนชวยเหลือ

               เกี่ยวกับทรัพยากรที่ประชากรกลุมเปราะบางตองการ
                     1.5 ใหการพยาบาลที่สะทอนถึงความตองการของประชากรกลุมเปราะบางซึ่งเปนผลกระทบจากสา

               ธารณภัย
                     1.6 ปรึกษากับสมาชิกในทีมสุขภาพ เพื่อใหมั่นใจวาประชากรกลุมเปราะบางจะไดรับการดูแลอยาง
               ตอเนื่อง



               2. การดูแลผูประสบภัยกลุมเด็ก
                     เด็กตามปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิเด็ก (Convention on the rights of the child) ระบุวา หมายถึง ผู
               ที่มีอายุต่ำกวา 18 ป แตในบางประเทศอาจแตกตางไปจากที่กำหนดนี้ได เด็กถือเปนกลุมเปราะบางที่ตองการ

               การปกปอง และชวยเหลือเปนพิเศษเมื่อเกิดสาธารณภัย ผูใหการชวยเหลือตองคำนึงถึงสิทธิของเด็ก
               เชนเดียวกับในภาวะปกติ

                     2.1  ปญหาสุขภาพของเด็กที่ประสบภัย
                         เมื่อเกิดสาธารณภัยเด็กเสี่ยงตอการเกิดปญหาสุขภาพและเสียชีวิตไดงายดวยโครงสรางของรางกายยัง
               เติบโตไมเต็มที่ การทำงานของอวัยวะตางๆ ยังไมสมบูรณโดยเฉพาะเมื่อตองสัมผัสกับสารเคมีบางชนิดที่พบวาทำ

               อันตรายตอเด็กมากกวาผูใหญ นอกจากนี้เด็กยังมีความสามารถในการดูแลตนเองไดไมเต็มที่ตองอาศัยผูอื่น อีกทั้ง
               มีประสบการณในสถานการณเสี่ยงและทักษะในการแกปญหานอย รวมถึงในบางครั้งเด็กยังสูญเสียพอแมหรือ
               ผูดูแลจากเหตุการณสาธารณภัยดวยปญหาสุขภาพของเด็กที่ประสบภัยมีทั้งดานรางกายและจิตใจดังนี้

                         2.1.1 ปญหาสุขภาพดานรางกาย เมื่อเกิดสาธารณภัยที่สำคัญ ไดแก  การบาดเจ็บและการเจ็บปวย
               ดวยโรคตามประเภทของสาธารณภัยที่เกิด  รวมถึงโรคติดเชื้อและโรคติดตอเมื่อตองอพยพเขาไปอยูอยางแออัด
               ในศูนยอพยพชั่วคราวดวย ดังจะเห็นไดจากการศึกษาปญหาสุขภาพและความตองการของเด็กที่ประสบอุทกภัย

               ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของจุไร อภัยจิรรัตน และนันทกา สวัสดิพานิช ที่พบวา เด็กที่ประสบอุทกภัย
               เจ็บปวยทางกายหลากหลายอาการ ไดแก ทองเสียและอาเจียน ซึ่งสวนใหญเกิดจากน้ำนมและอาหารที่

               รับประทาน  ไขหวัดซึ่งเกิดจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงหรือติดจากผูพักพิงในศูนยอพยพรายอื่น ยุงกัด/ผื่นคัน/
               แผลผุผอง เนื่องจากสภาพที่พักมีน้ำทวมขังและขาดอุปกรณในการปองกันตาแดงเนื่องจากเลนน้ำที่ทวมขัง
               และอุบัติเหตุจากการทำกิจกรรมหรือเลนกับเพื่อนๆ ในศูนยอพยพ

                         2.1.2 ปญหาสุขภาพดานจิตใจ สาธารณภัยสงผลใหเกิดปญหาดานจิตใจของเด็กเปนอยางมาก
               โดยเฉพาะหากเด็กตองสูญเสียบุคคลอันเปนที่รัก ที่พักอาศัย ปญหาสุขภาพดานจิตใจของเด็กที่พบไดเสมอ
               ไดแก ความกลัว สับสน วิตกกังวล ตกใจ เครียด สำหรับเด็กเล็กอาจรูสึกไมมั่นคงปลอดภัยเมื่อตองยายที่อยู

               และตองแยกจากคนที่คุนเคย เด็กที่ประสบอุทกภัยมีจิตใจอารมณหวั่นไหว ไมเบิกบาน โดยมีอาการ ดังนี้
                               - นอนไมหลับเหมือนแตเดิม เพราะแปลกที่ไมคุนเคยกับคนหรือสิ่งแวดลอมและคิดถึงบาน
                               - งอแงเพิ่มกวาอยูบาน เพราะไมคุนเคยกับผูพักพิงรายอื่นหรือถูกจำกัดพื้นที่อยูอาศัย

                               - เศราใจและเสียใจเพราะไมอยากยายออกจากบาน
                               - เสียดายทรัพยสินหรือสิ่งของที่ถูกน้ำทวมและเปนหวงสัตวเลี้ยง





                                                                                                         5
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10