Page 22 - คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
P. 22
ค�ำถำมที่ ๑๖
คำาซ้อนและคำาซำ้า คืออะไร
ตอบค�ำถำมที่ ๑๖
คำาซ้อน หมายถึง คำาที่เกิดจากการนำาคำาตั้งแต่ ๒ คำาขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยแต่ละคำานั้น
มีความสัมพันธ์กันในด้านความหมาย อาจเป็นความหมายเหมือนกัน เช่น เร็วไว ใหญ่โต ดูแล สูญหาย เป็นต้น
ความหมายคล้ายกันหรือทำานองเดียวกัน เช่น อ่อนนุ่ม เล็กน้อย ไร่นา ใจคอ และความหมายตรงกันข้าม
เช่น ใกล้ไกล เหตุผล สูงตำ่า ดำาขาว ทีหน้าทีหลัง เป็นต้น
คำาซำ้า หมายถึง คำาที่ประกอบด้วยหน่วยคำา ๒ หน่วย ซึ่งเหมือนกันทุกประการ หรืออีกนัยหนึ่ง
การพูดหรือเขียนคำาใดคำาหนึ่งอีกครั้งทำาให้เกิดคำาซำ้า เช่น เด็ก ๆ, สาว ๆ, หนุ่ม ๆ, หลาน ๆ, ดำา ๆ, แดง ๆ,
สวย ๆ, ดี ๆ ในการเขียนคำาซำ้าจะใช้เครื่องหมายไม้ยมกแทนคำาที่ซำ้า ในภาษาไทยคำาทุกชนิดซำ้าได้ แต่ไม่ใช่ว่า
คำาทุกคำาในแต่ละชนิดจะซำ้าได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความหมายของคำาและปริบท
ค�ำถำมที่ ๑๗
การยืมภาษา (linguistic borrowing) คืออะไร
ตอบค�ำถำมที่ ๑๗
การยืมภาษา (linguistic borrowing) คือ ปรากฏการณ์ที่ภาษาหนึ่งยืมตัวอักษร เสียง ความหมาย
หน่วยคำา คำา สำานวน กฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ โครงสร้างประโยค วัจนลีลา ฯลฯ จากภาษาอื่นมาใช้
แม้ว่าการยืมภาษาจะไม่จำากัดอยู่เพียงการยืมคำา แต่โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงการยืมภาษา มักมุ่งประเด็นไปที่
การยืมคำาเป็นสำาคัญ เพราะคำาเป็นสิ่งที่ภาษาหนึ่งรับจากอีกภาษาหนึ่งใช้ได้ง่ายที่สุดและเกิดการยืมมากที่สุด
คำาที่รับมาจากภาษาอื่นหรือภาษาย่อย (dialect) อื่นเรียกว่า คำายืม ภาษาที่ให้ยืมซึ่งอาจเป็นภาษาต่างประเทศ
ภาษาถิ่น หรือภาษาโบราณ เรียกว่า ภาษาผู้ให้ (donor language) ส่วนภาษาที่เป็นผู้ยืม เรียกว่า ภาษาผู้รับ
(recipient language)
16 คู่มือการดำาเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำาเร็จ
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕