Page 20 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 20

ตัวชี้วัดเพื่อก�ากับติดตามคุณภาพบริการ การด�าเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ
                     (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563


           ตัวชี้วัดการติดตามประเมินผลการด�าเนินการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ปี 2563
                  มีทั้งหมด 17 ตัวชี้วัด คงเดิมไว้ไม่ปรับรายละเอียด 12 ตัวชี้วัด ปรับรายละเอียด 3 ตัวชี้วัด และเพิ่ม

           2 ตัวชี้วัด ดังนี้
                  ตัวชี้วัดเบาหวานที่คงเดิมไว้ไม่ปรับรายละเอียด จ�านวน 12 ตัว
                  1) ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเบาหวาน
                  2) อัตราประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมาได้รับการตรวจน�้าตาลซ�้า
                  3) อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
                  4) อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อประชากร

                  5) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลง
                  6) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน และมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
                  7) อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วนลงพุง [รอบเอวมากกว่า (ส่วนสูง (ซม.)/2)]
                  8) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วนลงพุง [รอบเอวมากกว่า (ส่วนสูง (ซม.)/2)] ลดลงจาก
           งบประมาณที่ผ่านมา
                  9) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วน (BMI ≥ 25 กก./ตร.ม.) ลดลงจากปีงบประมาณที่ผ่านมา
                  10) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตน้อยกว่า 140/90 mmHg

                  11) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจไขมัน LDL และมีค่า LDL < 100 mg/dl
                  12) ร้อยละของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันในผู้ป่วยเบาหวาน
                  ตัวชี้วัดเบาหวานที่ปรับรายละเอียด จ�านวน 3 ตัว
                  1) ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน�้าตาลในเลือดได้ดี
                  2) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา
                  3) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางเท้า

                  ตัวชี้วัดเบาหวานที่พิจารณาเพิ่ม จ�านวน 2 ตัว
                  1) ร้อยละการตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน
                  2) ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการตรวจยืนยัน
           ตัวชี้วัดการติดตามประเมินผลการด�าเนินการป้องกันควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ปี 2563
                  มีทั้งหมด  8  ตัวชี้วัด  คงเดิมไว้ไม่ปรับรายละเอียด  5  ตัวชี้วัด  ปรับรายละเอียดตัวชี้วัด
           และรายละเอียดส่วนแสดงผลหน้า HDC 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
                  ตัวชี้วัดโรคความดันโลหิตสูงที่คงเดิมไว้ไม่ปรับรายละเอียด จ�านวน 5 ตัว

                  1) ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากผู้สงสัยป่วย (ท�า Home BP)
                  2) อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร
                  3) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
                  4) ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี
                  5) ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง


   NCD        8   ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำ�กับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ
                  พ.ศ.�2563-2566
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25