Page 114 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 114
จึงมีความประสงค์ที่จะขอยกเลิกการขอจัดงานบวงสรวงพระนารายณ์ ปี ๒๕๖๓ กับ นาย ช.
ได้หรือไม่ และจะเป็นเหตุให้ผู้เสียหายฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการขอยกเลิกให้ร่วมจัดงาน
ในครั้งนี้ได้หรือไม่ โดยได้ปรึกษากับผู้อำนวยการกองคลังแล้วว่าหากเทศบาล ต. ประสงค์จะยกเลิก
การอนุญาตให้ร่วมจัดงานในครั้งนี้ เทศบาล ต. ก็สามารถเบิกจ่ายเงิน จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท
ที่ได้รับมอบมาจากนาย ช. คืนให้กับนาย ช. ได้ อีกทั้ง ได้ปรึกษากับประชาชนและสมาชิกสภา
เทศบาลบางส่วนแล้ว ได้ข้อยุติร่วมกันว่า การจัดงานพิธีบวงสรวงพระนารายณ์เป็นความเชื่อส่วนบุคคล
ซึ่งมีประชาชนหลายกลุ่มหลายพวกล้วนมีความเชื่อและมีความศรัทธาต่อองค์พระนารายณ์
และพร้อมที่จะร่วมกันออกค่าใช้จ่ายในการจัดพิธีบวงสรวงพระนารายณ์ โดยไม่จำเป็นต้องให้
เทศบาล ต. จัดหารายได้จากการอนุญาตให้มีผู้ประกอบการมาจำหน่ายสินค้าเพื่อสร้างความเดือดร้อน
แก่ประชาชนในเขตเทศบาล ต. แต่ประการใด
คำวินิจฉัย
การดำเนินการใด ๆ ของเทศบาล ต. จะต้องอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องบัญญัติไว้ การที่เทศบาล ต.
จะดำเนินการจัดงานบวงสรวงพระนารายณ์ ปี ๒๕๖๓ โดยร่วมจัดงานกับเอกชนจึงต้องพิจารณา
ว่าการจัดงานดังกล่าวเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ต. หรือไม่ เนื่องจากประเด็นเรื่อง
การดำเนินการจัดงานบวงสรวงพระนารายณ์นี้ เทศบาล ต. ได้เคยมีหนังสือขอหารือจังหวัด พ.
ว่าการจัดโครงการบวงสรวงพระนารายณ์และเทพบริวารฯ เป็นการส่งเสริมศาสนาหรือบำรุงรักษาศิลปะ
จารีตประเพณีอันเป็นอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมาย หรือโครงการดังกล่าวเข้าข่าย
การส่งเสริมศาสนาฯ การประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตน หรือไม่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด พ.
ได้หารือไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มีหนังสือแจ้ง
ตอบข้อหารือว่า แม้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการทำนุบำรุง
ศาสนา ส่งเสริมศาสนา จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม แต่การส่งเสริมหรือสนับสนุนต้องเป็นการส่ง
เสริมและสนับสนุนศาสนาหรือกิจกรรมของศาสนาที่ให้ประโยชน์หรืออำนวยความสะดวกแก่
ประชาชนเป็นการทั่วไป มิใช่การส่งเสริมและสนับสนุนศาสนิกชนในการประกอบพิธีกรรม
ทางศาสนาตามความเชื่อของตน ตามแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ ๒๙๕/๒๕๕๓
ดังนั้น เมื่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้วางแนวทางปฏิบัติไว้ดังกล่าวแล้ว เทศบาล ต. ซึ่งเป็น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องพิจารณาตามแนวคำวินิจฉัยดังกล่าว ซึ่งหากพิจารณาไป
โดยสุจริตและเป็นไปตามแบบแผนของทางราชการแล้ว เห็นว่าเทศบาล ต. ไม่มีอำนาจจัดงาน
บวงสรวงพระนารายณ์ ปี ๒๕๖๓ และควรยกเลิกการจัดงานดังกล่าวแล้วหากเกิดกรณีมีบุคคลใด
จะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการยกเลิกการจัดงานดังกล่าว เทศบาล ต. สามารถส่งเรื่อง
ให้พนักงานอัยการในท้องที่ดำเนินการแก้ต่างคดีให้ได้
104 ตอบข้อหารือสำนักงานอัยการสูงสุด