Page 53 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 53
หมายเหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ดูเสมือนว่าจะขัดกับหลักการเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา เนื่องจากหลักการเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย นั่นคือต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ไม่มีส่วนร่วมในการ
ก่อให้เกิดการกระทำความผิด และไม่ยินยอมให้มีการกระทำความผิดต่อตน ซึ่งข้อเท็จจริงตามฎีกา
ฉบับนี้ผู้เสียหายได้มอบเงินจำนวน ๕๕๐,๐๐๐ บาท ให้แก่จำเลยเพื่อขอให้ช่วยฝากเข้างาน
รับราชการจึงดูเสมือนว่าผู้เสียหายมีเจตนาที่ผิดกฎหมายโดยการเข้ารับราชการโดยวิธีการติดสินบน
แก่จำเลย
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับเต็มจะพบว่า คดีนี้ก่อนสืบพยานโจทก์
จำเลยได้ขอถอนคำให้การที่ปฏิเสธและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ คดีจึงไม่มีการสืบพยาน ข้อเท็จจริง
ที่ศาลฎีการับฟังในคดีนี้จึงมีเพียงข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องว่า “เมื่อระหว่าง
ต้นเดือนสิงหาคม ๒๕๕๖ เวลากลางวันถึงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน
ตลอดมา จำเลยกับนาง จ. ซึ่งผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ไปแล้ว ร่วมกันหลอกลวงนางสาว ศ. ผู้เสียหาย
ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ผู้เสียหาย โดยจำเลย
กับพวกกล่าวอ้างว่าสามารถช่วยเหลือฝากผู้เสียหายเข้าทำงานรับราชการในองค์กรบริหารส่วนตำบล
หรือเทศบาลในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ได้ หากจะเข้ารับราชการในระดับ ซี ๑ ผู้เสียหายต้องเสีย
ค่าดำเนินการให้แก่จำเลย ๕๐๐,๐๐๐ บาท หากจะเข้ารับราชการในระดับ ซี ๒ ผู้เสียหายต้องเสีย
ค่าดำเนินการให้แก่จำเลยกับพวก ๖๕๐,๐๐๐ บาท โดยผู้เสียหายจะต้องเข้าสอบตามปกติอันเป็น
ความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยกับพวกไม่สามารถช่วยเหลือฝากผู้เสียหายเข้าทำงานรับราชการใน
องค์การบริหารดังกล่าวได้ตามที่กล่าวอ้าง โดยการหลอกลวงของจำเลยกับพวกเป็นเหตุให้ผู้เสียหาย
หลงเชื่อว่าเป็นความจริงจึงมอบเงิน ๕๕๐,๐๐๐ บาท ให้จำเลยไปดำเนินการตามที่จำเลยกับพวก
กล่าวอ้าง ทำให้จำเลยกับพวกได้ไปซึ่งทรัพย์สินเป็นเงิน ๕๕๐,๐๐๐ บาท จากผู้เสียหาย...”
เห็นได้ว่า เมื่อข้อเท็จจริงมีเพียงตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่ปรากฏรายละเอียดให้รับฟังได้
อย่างชัดเจนว่าผู้เสียหายทราบว่าจำเลยจะนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยวิธีทุจริตหรือไม่ชอบด้วย
กฎหมายอย่างไร เนื่องจากจำเลยรับสารภาพและคดีไม่มีการสืบพยาน ศาลฎีกาจึงน่าจะเห็นว่า
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องยังฟังไม่ได้ว่าการที่ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่จำเลยดังกล่าว
เป็นกรณีที่ผู้เสียหายมีเจตนามิชอบด้วยกฎหมายหรือมีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยในการนำเงิน
ไปให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีอำนาจในการบรรจุแต่งตั้งผู้เสียหายเข้ารับราชการ โดยตามเนื้อหา
ของคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ก็ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีหน้าที่
ในการคัดเลือกหรือบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลใน
เขตจังหวัดบุรีรัมย์ อีกทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้เสียหายมีเจตนาตั้งแต่แรกที่จะไป
ติดต่อจำเลยเพื่อขอให้ช่วยฝากเข้าทำงานรับราชการ การที่ผู้เสียหายมอบเงินจำนวน ๕๕๐,๐๐๐ บาท
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 43