Page 49 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 49
แต่ยังมีผลต่อการรับโทษทางอาญาของผู้ถูกกล่าวหาด้วย ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา มาตรา ๒ วรรคแรกว่า “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำ
การอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้” ฉะนั้น หากถือว่า
การกระทำใดเป็นขั้นตอนส่วนหนึ่งของการกระทำผิด ก็ถือว่าได้มีการลงมือกระทำผิดในความผิดนั้น ๆ
แล้วและย่อมต้องรับโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยหากกระทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอด
แล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลก็ถือว่าได้พยายามกระทำความผิดและต้องรับโทษสองในสามส่วน
ของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา มาตรา ๘๐ ฉะนั้นหากขยายความการกระทำความผิดอาญาและส่วนหนึ่งของ
การกระทำความผิดอาญามากเกินไปก็จะทำให้บุคคลนั้นต้องรับโทษทั้งที่ยังไม่น่าจะถือว่า
การกระทำนั้นเป็นขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามฎีกาฉบับนี้พบว่า ข้อกล่าวหาความผิดในคดีนี้เป็นข้อหา
ยักยอก อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๒ ซึ่งสาระสำคัญของการกระทำ
ความผิดฐานยักยอกก็คือการที่ผู้ต้องหาได้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของ
รวมอยู่ด้วยแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม โดยขั้นตอนที่ผู้ต้องหา
ได้ครอบครองทรัพย์และมีเจตนาเบียดเบียนเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนน่าจะถือเป็นจุดเริ่มต้น
ของขั้นตอนการกระทำผิดในความผิดฐานยักยอกแต่สำหรับฎีกาฉบับนี้ได้ขยายความไปถึง
ขั้นตอนก่อนที่ผู้ต้องหาจะได้ครอบครองทรัพย์ ซึ่งเป็นขั้นตอนการกระทำของนาย ป. ในการใช้
โทรศัพท์เคลื่อนที่และตู้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติเป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมป้อนคำสั่งให้โอนเงิน
ทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีของนาย ป. เข้าบัญชีของผู้ต้องหาที่กรุงเทพมหานคร โดยขณะ
นาย ป. กระทำการโอนเงินทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว นาย ป. ได้อยู่ที่ อำเภอท่าม่วง
จังหวัดกาญจนบุรี ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยถือว่าการกระทำส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำผิดฐาน
ยักยอกด้วย
และเมื่อพิจารณาคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับเต็มพบว่า ศาลฎีกาได้พิจารณาข้อเท็จจริงในคดี
โดยเห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะยักยอกเงินของโจทก์ร่วมมาก่อนที่จะได้รับเงินจากนาย ป. แล้ว
และศาลฎีกายังได้อธิบายลักษณะการกระทำในการโอนเงินของนาย ป. ดังกล่าวไว้ด้วยว่า การโอนเงิน
ผ่านทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้นแตกต่างจากการส่งมอบตัวเงินสดเพราะมีธนาคารเป็นตัวกลาง
ในการส่งมอบเงินสดผ่านขั้นตอนของธนาคารที่ส่งถ่ายข้อมูลด้วยความเร็วแสงโดยใช้ตัวเลขเงิน
ในบัญชีเป็นหลักฐานยืนยันในการรับโอนเงิน ทำให้ผู้รับโอน (ผู้ต้องหา) สามารถรับเงินได้แม้อยู่
ในระยะไกลซึ่งการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ย่อมเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อผู้รับโอนได้รับเครดิตยอดเงิน
ทางบัญชีครบถ้วนแล้ว เห็นได้ว่า ศาลฎีกาได้ให้เหตุผลในการตีความในคดีนี้ว่ามีเหตุพิเศษแตกต่าง
จากความผิดฐานยักยอกทั่วไป โดยอธิบายให้เห็นพฤติการณ์การกระทำความผิดฐานยักยอกของ
จำเลยในคดีนี้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมมาก่อนที่จะได้ครอบครองทรัพย์
ซึ่งแตกต่างจากพฤติการณ์ของการกระทำผิดฐานยักยอกทั่วไปที่ขั้นตอนการกระทำผิดจะเริ่มเมื่อ
จำเลยได้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นแล้วและต่อมามีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน
และศาลฎีกายังได้อธิบายให้เห็นถึงวิธีการส่งมอบทรัพย์ (เงิน) ให้แก่จำเลยครอบครองในคดีนี้
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 39