Page 67 - วิศวกรรมสาร ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 มาราคม - มีนาคม 2565
P. 67

ตอนที่ 6 ค�าถามคาใจ น�้ามันรั่ว ทะเลไทย


                                               ค�าถามคาใจข้อที่ 1:
                                               ประเทศไทยเกิดน�้ามันรั่วใหญ่ ๆ 2 ครั้งในช่วงเวลาประมาณ 9 ปี ถือว่าปกติไหม?

                                               ตอบ: ประเด็นนี้ ต้องดูสถิติเชิงเปรียบเทียบ จากการค้นข้อมูลเบื้องต้น ผู้เขียนพบว่าในช่วง
                                               10 ปีก่อนหน้าคือระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง 2554 (หรือ ค.ศ. 2001-2011) เกิดเหตุน�้ามันรั่ว

                                               ใหญ่ 20,000 ลิตรขึ้นไป (ประมาณ 16 ตัน) ในทะเลไทยรวม  9 ครั้ง [1] และในช่วง 10 ปี
                                               หลังคือ พ.ศ. 2555-2565 (หรือ ค.ศ. 2012-2022) ก็เกิดน�้ามันรั่วใหญ่ 2 ครั้ง โดยแนวโน้ม
                                               สถิติถือว่าลดลงสอดคล้องกับทิศทางสถิติการเกิดน�้ามันรั่วไหลลงทะเลของโลก ดังแสดงในรูป
                                               ที่ 1 [2] จะเห็นได้ว่าในช่วง ค.ศ. 2000-2010 นั้น มีสถิติการรั่วไหลของน�้ามัน (ขนาดกลาง
                                               หรือ 7-700 ตัน) ทั่วโลกกว่า 149 ครั้ง แต่ลดลงเหลือ 45 ครั้งในช่วง 2010-2020 หรือคือ

                                               ลดลงประมาณ 3.3 เท่าในภาพรวมของโลก ในขณะที่ประเทศเราลดลงจาก 9 ครั้งลงเหลือ
                                               2 ครั้ง หรือคือลดลงประมาณ 4.5 เท่าก็ถือว่าใกล้เคียงกับทิศทางการลดลงของน�้ามันรั่วไหล
                                               ในโลกตามที่กล่าวมา

























                                   ที่มาของภาพ :
           https://www.thaipost.net/environment-news/79868/


                                                           รูปที่ 1 สถิติการรั่วไหลของน�้ามันดิบในทะเลรายปีนับจากปี 1970
                                                                  และแนวโน้มจ�านวนครั้งการรั่วไหลที่ลดลง [2]


                                                 อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสนใจว่า แท้ที่จริงแล้วน�้ามันรั่วที่เกิดจากอุบัติเหตุในการขนส่งน�้ามัน
                                               ดิบนั้นอาจเป็นแค่สาเหตุส่วนน้อย (18%) แต่สาเหตุใหญ่จริง ๆ กลับเป็นการลักลอบทิ้งน�้ามัน

                                               หล่อลื่น น�้ามันเครื่อง และตะกอนน�้ามันจากน�้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วลงสู่ทะเลอย่างตั้งใจโดย
                                               เรือเดินสมุทรนั้นเอง โดยแรงจูงใจก็คือเพื่อประหยัดค่าก�าจัดของเสียประเภทน�้ามันเมื่อขึ้น
                                               ฝั่ง จะเห็นได้ว่าการลักลอบทิ้งน�้ามันหรือของเสียประเภทน�้ามันเป็นสาเหตุส�าคัญถึง 46%
                                               ของมลพิษน�้ามันในทะเล [3] ฉะนั้นกฎหมายและนวัตกรรมในการป้องปรามการลักลอบทิ้ง
                                               น�้ามันจากเรือเดินสมุทรต่าง ๆ เป็นสิ่งที่จ�าเป็นมาก ๆ ส�าหรับทะเลไทย









                                                                                    ปีที่ 75 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2565  วิศวกรรมสาร 67
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72