Page 146 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 146
แนวการบริหารจัดการต้านทุจริต 103-2, 102-13
ธนาคารได้ประกาศใช้ระเบียบธนาคารออมสิน ฉบับที่ 660 ว่าด้วยนโยบายป้องกันและปราบปราม การทุจริต โดยนำาแนวทาง
การควบคุมภายในตามหลักการและแนวทางการกำากับดูแลกิจการที่ดีในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2562 หลักเกณฑ์ตามแบบประเมินตนเอง
เกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน ตามโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (Collective
Action Coalition Against Corruption หรือ CAC) กรอบการจัดการของสมาคมผู้ตรวจสอบทุจริตสากล (Association of Certified
Fraud Examiners : ACFE) และกรอบหลักเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(Integrity & Transparency Assessment : ITA) มาใช้เป็นกรอบในการจัดทำานโยบายป้องกันและปราบปรามการทุจริตของธนาคาร
ที่ผ่านมาธนาคารจัดทำาแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตของธนาคารออมสิน ปี 2563-2565 ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติ
การป้องกันการทุจริตในภาครัฐวิสาหกิจ (พ.ศ. 2562-2564) ของสำานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) ตามบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือ (MOU) 3 ฝ่าย ระหว่างสำานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำานักงาน ป.ป.ช)
สำานักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จำานวน 54 แห่ง และเป็นแนวทางในการดำาเนินการ
ของธนาคารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
ท่านผู้อ่านสามารถสืบค้นรายละเอียด แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตของธนาคารออมสิน
ปี 2563-2565 ได้ตาม QR Code นี้
นอกจากนี้เพื่อแสดงถึงทิศทางและกรอบการดำาเนินงานของธนาคาร ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการป้องกัน
และปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำาลายล้างสูง โดยในปี พ.ศ. 2563
ธนาคารได้ทบทวนนโยบายดังกล่าว เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบัน
103-2
การดำาเนินงานที่สำาคัญด้านการต้านทุจริต
การบริหารความเสี่ยงด้านการต้านทุจริต
ธนาคารตระหนักถึงความสำาคัญต่อกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงประเภทหนึ่งของ
ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยมีการระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การติดตามความเสี่ยง การควบคุมหรือลดความเสี่ยง
การจัดเก็บข้อมูล และรายงานความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ โดยตระหนักถึงการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ให้สอดคล้องเหมาะสม
กับขนาด ความซับซ้อน และการดำาเนินธุรกิจของธนาคารเป็นสำาคัญ
ที่ผ่านมา ธนาคารได้มีการประเมินความเสี่ยงด้านทุจริต โดยระบุกระบวนการปฏิบัติงานหลักที่มีโอกาสเกิดความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์ที่สำาคัญ 3 กระบวนการ คือ การให้สินเชื่อ หรือก่อภาระผูกพันแก่กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง กิจการที่มีผลประโยชน์
เกี่ยวข้อง การจัดซื้อจัดจ้าง และการใช้ข้อมูลภายในจากการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของธนาคาร โดยพิจารณาจากปัจจัยความเสี่ยง
ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระดับโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Impact) ระดับ
ความเสี่ยง โดยกำาหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง เพื่อป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์เพื่อป้องกันการทุจริต ดังนี้
142 ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม