Page 66 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 66

3.2.4)  การแจ้งข่าวหรือเตือนภัยด้วยวิธีการอื่น ๆ เช่น สัญลักษณ์หรือสี
          ตามเกณฑ์การกระจายข้อมูลและข่าวสาร ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ดังนี้

                                     n  สีเหลือง คือเกณฑ์แจ้งข่าว (Advisory) ใช้เมื่อคาดว่าจะเกิด
          ภัยธรรมชาติ ซึ่งจะยังไม่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ ให้ประชาชนไม่ต้อง
          ตื่นตระหนก แต่ต้องติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดต่อไป
                                     n  สีส้ม คือ เกณฑ์ระวังภัย (Watch) ใช้เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้นแล้ว
          และอาจมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ที่ก�าหนดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เตรียม
          พร้อมอพยพ

                                     n  สีแดง คือ เกณฑ์เตือนภัย (Warning) ใช้เมื่อภัยธรรมชาติจะ
          เป็นอันตรายต่อประชาชนอย่างรุนแรงในเวลาอันใกล้ ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้แจ้งแล้ว และจะพัฒนาเป็น
          พื้นที่ประสบภัย ให้ประชาชนอพยพทันที

                                     n  สีฟ้า คือ เกณฑ์ยกเลิก (Terminate) ใช้เมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติ
          ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไปต่อประชาชนในพื้นที่ประสบภัย ให้อพยพกลับสู่ภูมิล�าเนาด้วยความระมัดระวัง
                         3.3)  จัดเตรียมข้อมูลพร้อมเผยแพร่วิธีการปฏิบัติตนกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ  เช่น
          อย่าออกจากตัวอาคาร หรือให้ออกจากตัวอาคาร ปิดแก๊ส ให้วิ่งขึ้นที่สูง ฯลฯ โดยจัดวางไว้เป็นสัดส่วน
          พร้อมแบบฟอร์มรายงานเหตุการณ์เพื่อสามารถหยิบใช้ได้ทันที

                         3.4)  กรณีเกิดเหตุการณ์ที่สามารถรับรู้ได้ขณะปฏิบัติงานในสถานี ให้ถ่ายภาพหรือ
          บันทึกเสียงเก็บไว้ เพราะเหตุการณ์เช่นนี้มิได้เกิดบ่อย ๆ ภาพและเสียงที่บันทึกเก็บไว้ สามารถน�ามาใช้
          ประกอบการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงได้ดี และยังเป็นหลักฐานส�าคัญต่อไปในภายภาคหน้า

                         3.5)  จัดเตรียมระบบสื่อสารหลัก ระบบสื่อสารรอง และระบบสื่อสารส�ารองที่จ�าเป็น
          พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์สื่อสารให้เพียงพอและใช้งานได้ตลอดเวลา
                         3.6)  จัดอุปกรณ์สื่อสารชนิดติดตามตัวได้ให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน เพื่อสื่อสารได้
          ตลอดเวลา

                         3.7)  ตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่ามีเพียงพอและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เช่น กล้อง
          เครื่องส่ง เครื่องตัดต่อ แบตเตอรี่ อุปกรณ์บันทึกเสียง กล้องถ่ายรูป เครื่องส�ารองไฟ เครื่องปั่นไฟ
          ระบบดาวเทียม วิทยุเคลื่อนที่ ฯลฯ

                         3.8)  ควรส�ารองอุปกรณ์ที่เป็นระบบเก่าเอาไว้บ้าง  เนื่องจากเวลาเกิดพิบัติภัย
          อุปกรณ์ต่าง ๆ มักเสียหายทั้งระบบ เช่น ไฟฟ้า โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เมื่อถึงเวลาจ�าเป็นต้องใช้อุปกรณ์
          ง่าย ๆ แทน เช่น พิมพ์ดีดมือ แผนที่ กระดาษ ปากกา ฯลฯ
                         3.9)  ติดตามเครื่องแจ้งเตือนภัยที่ศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติจัดหาให้แก่ สวท. และ สทท.
          ในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ทุกแห่ง เพื่อให้สถานีเป็นหน่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน

          โดยรับข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยฯ และหมั่นตรวจสอบให้สามารถใช้การได้ตลอดเวลา






           58  คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์
               Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71