Page 65 - คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วมภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ พ.ศ. 2562
P. 65
2.7) ผู้บริหารหน่วยงานในพื้นที่ประสบภัย ต้องหมั่นตรวจสอบศักยภาพคณะท�างาน
ว่าในภาวะปกติสามารถรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ถูกต้องเพียงใด
เพื่อให้เคยชินกับการท�างานด้วยความกระฉับกระเฉงทันเหตุการณ์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
2.8) ผู้บริหารสื่อในภูมิภาคจะต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ /
รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ / ผู้อ�านวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.) / ผู้อ�านวยการ
สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) /ผู้อ�านวยการส�านักข่าว / ผู้อ�านวยการส�านักประชาสัมพันธ์เขต
รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ของตัวเอง ติดตัวไว้ตลอดเวลา พร้อมที่จะรายงานเมื่อมีเหตุการณ์
ฉุกเฉินเกิดขึ้น
3) การเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล / อุปกรณ์ / เครื่องมือ
3.1) จัดท�าฐานข้อมูลและข้อเท็จจริงนักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญ/เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
กับภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉิน โดยมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ 3 ระดับ ได้แก่
3.1.1) ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเพื่อทราบ ได้แก่ ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงทั่วไป
อันอาจมีผลไปสู่ภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินได้
3.1.2) ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเพื่อเฝ้าระวัง ได้แก่ ประกาศหรือข้อมูลที่มุ่งหมาย
ให้หน่วยงาน องค์กร หรือประชาชนเตรียมพร้อมและเฝ้าระวังเหตุ
3.1.3) ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเพื่อการแจ้งเตือน ได้แก่ ประกาศ ค�าสั่ง หรือ
หลักเกณฑ์ใด ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ ที่เป็นการก�าหนดให้หน่วยงาน องค์กร หรือประชาชนจะต้องปฏิบัติ
ตามเพื่อป้องกันหรือระงับยับยั้งเหตุ
3.2) จัดเตรียมรูปแบบในการรายงานภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ด้วยรูปแบบหรือ
วิธีการต่าง ๆ ดังนี้
3.2.1) การแจ้งข่าวหรือเตือนภัยทางเสียง โดยจัดท�าแบบฟอร์มรายงาน
ภัยพิบัติ และเตือนภัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไว้ในห้องส่ง ห้องข่าว และสถานที่ที่ท�างานร่วมกัน
(ตัวอย่างประกาศเตือนภัยส�าหรับผู้ประกาศ ตามภาคผนวก ง)
3.2.2) การแจ้งข่าวหรือเตือนภัยทางภาพ โดยออกอากาศภาพหนังสือ
แถลงการณ์ ให้ประชาชนเห็นและอ่านได้อย่างสะดวก และกราฟิกพื้นที่จังหวัด อ�าเภอ ต�าบลที่เกิดเหตุ
รวมถึงจัดเตรียมล่ามภาษามือ พร้อมจัดวางอุปกรณ์ เช่น ปากกา สีเมจิก แผนที่ที่ขยายไว้ชัดเจน
เพื่อเตรียมพร้อมส�าหรับรายงานข่าวด่วน สีเมจิกสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ขีดเขียนเชื่อมโยงให้ประชาชน
เห็นจุดเกิดเหตุ หรือเขตเชื่อมต่อต่าง ๆ อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารง่าย ๆ แต่สร้างความเข้าใจได้ดี
ในภาวะที่อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจใช้งานไม่ได้ เผยแพร่ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ทุกแขนง
3.2.3) การแจ้งข่าวหรือเตือนภัยทางตัวอักษร ได้แก่ การออกตัวอักษรวิ่ง
ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติงานของ
ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน ก�าหนดให้ต้อง
ออกอากาศเป็นตัวอักษรวิ่งเป็นอย่างน้อย (ควรมีรายชื่อผู้แปลภาษาต่าง ๆ เก็บไว้ในฐานข้อมูล)
คู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ข้อมูลข่าวสารร่วม ภายใต้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ 57
Practical Manual for Joint Information Center : JIC Under the Incident Command System