Page 23 - ถึงอาวุโส... สมองก็โอเคได้
P. 23
ในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงกิจกรรม 2 ประเภท คือ กิจกรรมกระตุ้นสมอง
(cognitive stimulation) และ กิจกรรมกระตุ้นความตื่นตัว ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพให้กับกิจกรรมกระตุ้นสมอง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. กิจกรรมกระตุ้นสมอง (cognitive stimulation)
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการใช้ความสามารถของสมองในแต่ละด้านอย่างเจาะจงใน
ระหว่างการทำกิจกรรม และช่วยคงไว้ซึ่งความสามารถของสมองในผู้สูงอายุ
ภายในหนังสือเล่มนี้ นำเสนอตัวอย่างกิจกรรมกระตุ้นความสามารถสมองในด้าน
ที่สำคัญและมักพบปัญหาได้บ่อย 2 ด้านคือ ความจำ (memory) และความใส่ใจ
(attention) เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ยังไม่ปรากฏอาการบกพร่องด้านความจำอย่าง
เด่นชัด และมีความสนใจอยากดูแลสมองของตนเอง โดยรูปแบบของกิจกรรมที่นำเสนอ
มีทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กิจกรรมกระตุ้นสมองแบบกลุ่ม กิจกรรมกระตุ้นสมองแบบ
• เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่รวมกลุ่ม รายบุคคล
กันทำกิจกรรมตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป • เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ทำกิจกรรมเอง
• ผู้สูงอายุสามารถเป็นผู้จัดกิจกรรม
เองโดยชักชวนกันมาทำกิจกรรม ที่บ้าน
• ผู้ดูแลผู้สูงอายุก็เป็นผู้จัดกิจกรรม • ผู้ดูแลทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุ
ได้โดยรวบรวมผู้สูงอายุมาพร้อมกัน • ใช้เวลาทำในช่วงที่สะดวกและไม่มีนัด
หลาย ๆ คน หมายใด ๆ
• มีประโยชน์ในการเปิดโอกาสให้ • มีข้อดีคือ สามารถใช้เวลายืดหยุ่นได้
ผู้สูงอายุได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ตามระดับความสามารถของตัวเอง ไม่มี
และส่งเสริมทักษะในด้านภาษาการ ความกดดันเรื่องเวลาจากคนอื่น
สื่อสาร • แต่มีโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
น้อยกว่าการทำกิจกรรมแบบกลุ่ม
คณะแพทยศาสตร-โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 23