Page 227 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 227

แบบฟอร์ม #23.  สรุปการสนับสนุนทางจิตสังคม

            ปฏิกิริยาปกติต่อสภาวะที่ไม่ปกติ
            เหล่านี้เป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติต่อประสบการณ์ผลกระทบจากภัยอันตราย เมื่อความต้องการขั้นพื้นฐานของพวกเขา
            ได้รับการตอบสนอง และโอกาสในการพัฒนาได้รับการฟื้นฟู เด็กส่วนใหญ่จะกลับสู่พฤติกรรมและระดับการทำงานก่อนหน้านี้
            เด็กที่มีประสบการณ์บาดแผลทางใจในอดีต  ประวัติความวิตกกังวล หรือประวัติความยากลำบาก ในครอบครัว มีแนวโน้ม

            ที่จะพัฒนาอาการระยะยาวมากกว่า หากเด็กแสดงอาการดังกล่าวหลายอย่างเป็นระยะเวลานาน  (6 เดือนขึ้นไป) ควรขอ
            ความช่วยเหลือจากแพทย์

                    กลุ่มอายุ                 ปฏิกิริยาปกติต่อความโศกเศร้า การสูญเสีย และสภาวะที่ไม่ปกติ

                                    • ปัญหาการนอนและการกิน
                                    • อาการโวยวายและหงุดหงิด
                                    • ดื้อ พูดคำว่า "ไม่!" บ่อยๆ
                                    • อารมณ์เสียเมื่อได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
                 เด็กก่อนวัยเรียน   • กลัวว่าภัยพิบัติจะเกิดขึ้นอีก
                    (0 – 5 ปี)      • วิตกกังวลเมื่อต้องแยกจากผู้ปกครอง
                                    • ความกลัวเพิ่มขึ้น
                                    • เคลื่อนไหวหรือเล่นน้อยลงกว่าปกติ
                                    • เงียบหรือเก็บตัว
                                    • กลับไปปัสสาวะรดที่นอน ดูดนิ้วโป้ง หรือพฤติกรรมในช่วงวัยก่อนหน้า
                                    • ถามคำถามซ้ำๆ บางครั้งเกี่ยวกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของสิ่งที่เกิดขึ้น

                                    • เกาะติดพ่อแม่/ผู้ปกครอง
                                    • กลัวการไปโรงเรียน
                                    • เหนื่อยล้าจากปัญหาการนอนหรือฝันร้าย
                                    • การเปลี่ยนแปลงนิสัยการกิน
                                    • ยากต่อการมีสมาธิและทำงานให้เสร็จ
                     เด็กเล็ก       • ผลการเรียนแย่ลง
                   (6 – 12 ปี)      • พฤติกรรมก้าวร้าว การทะเลาะวิวาท
                                    • ความวิตกกังวล อาการร้องไห้ ความเศร้าโศกและความโศกเศร้า
                                    • อาการปวดเมื่อยทางร่างกาย
                                    • ถดถอย - ทำตัวเหมือนเด็กอายุน้อยกว่า
                                    • รู้สึกผิด หรือโทษตัวเอง
                                    • แยกตัวจากเพื่อน
                                    • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมปกติ

                                    • หมกมุ่นกับภัยพิบัติ
                                    • รู้สึกไร้ความสามารถหรือไร้อำนาจ
                                    • ตัดสินและวิจารณ์ผู้ใหญ่
                                    • อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง
                                    • ความวิตกกังวล ประหม่า
                     วัยรุ่น        • ทำตัวเหมือนเอาชนะทุกอย่างได้
                   (13 – 16 ปี)     • พฤติกรรมเสี่ยง (ยาเสพติด แอลกอฮอล์ เพศสัมพันธ์)

                                    • การเปลี่ยนแปลงในนิสัยการนอนหรือการกิน
                                    • หงุดหงิดและโมโหง่าย
                                    • อาการปวดเมื่อยทางร่างกาย
                                    • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมปกติ
                                    • แยกตัวจากเพื่อน ระมัดระวังผู้อื่น และกลัวอนาคต



                                                                                                                222
   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232