Page 235 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 235
พายุลมแรง (STORM) ใบความรู้ประกอบใบงานสําหรับผู้เรียน
พายุลมแรง เป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน เรามักรู้จักพายุลมแรงในชื่อของพายุต่างๆ
ซึ่งแตกต่างกัน ทางด้านของความเร็ว เวลา แหล่งกำเนิด และความรุนแรงของพายุ
พายุลมแรงที่พบในประเทศไทย คือ พายุหมุนเขตร้อนและพายุฝนฟ้าคะนอง โดยพายุลมแรงที่ใกล้ตัวเราทุกคนมากที่สุด
และสามารถเกิดได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก้พายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มักมีฟ้าแลบ ฟ้าผ่าเกิดควบคู่ด้วย
โดยพบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ถูกฟ้าผ่ามักเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ และพื้นที่ที่มีผู้ถูกฟ้าผ่า แล้วทำให้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
มากที่สุด คือการอยู่ในที่โล่งแจ้ง
เตรียมรับมืออย่างไรก่อนเกิดพายุลมแรง
1. ติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศทางสื่อต่างๆ เช่น
วิทยุ โทรทัศน์หรือสื่อออนไลน์
2. เตรียมชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินให้อยู่ในที่หยิบง่ายและมีสภาพ
พร้อมใช้เสมอ ทําตัวอย่างไร ระหว่างเกิดพายุลมแรง
3. ช่วยจัดเก็บสิ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนตัวและเครื่องใช้ 1. หลบในอาคารที่มั่นคงแข็งแรงปิดประตูหน้าต่าง
ในบ้านที่สามารถปลิวลมได้ในที่มิดชิด ให้สนิท เพื่อป้องกันลมพัดสิ่งของปลิวมากระแทก
4. สังเกตกิ่งไม้ต้นไม้รอบบ้าน ตลอดจนป้ายโฆษณาที่อาจ 2. อยู่ห่างจากสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยเมื่อมีพายุ รีบบอกผู้ปกครอง 3. ไม่หลบพายุใต้ต้นไม้ป้ายโฆษณาหรืออยู่ใกล้แนว
ให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข เสาไฟฟ้าเพราะเสี่ยงต่อการถูกล้มทับ
W E 5. ถ้าอาศัยอยู่ริมทะเลหรือชายฝั่ง ให้เรียนรู้เส้นทางอพยพ 4. ถ้าเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าขณะเกิดพายุลมแรง
จากผู้ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ต้องรีบถอดเครื่องประดับออกจากตัว ไม่อยู่ใกล้
6. เรียนรู้แผนฉุกเฉินประจำสถานที่ เช่น สถานที่ทำงาน วัตถุที่เป็นโลหะ ไม่ใช้เครื่องมือสื่อสาร หรือ
ของผู้ปกครองโรงเรียนหรือที่ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
่
่
สํารวจสิงของรอบตัวอะไรบ้างเมือเกิดพายุลมแรง
1. ถ้าได้รับบาดเจ็บต้องตรวจสอบอาการบาดเจ็บของตนเอง และรีบแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ
2. ถ้าบ้านเรือนได้รับความเสียหายต้องไม่เข้าไปเล่นหรือทำการใดๆ ในอาคารและบริเวณที่ได้รับความ
เสียหายจนกว่าผู้ปกครองจะอนุญาต
3. ถ้าได้กลิ่นแก๊สหรือได้ยินเสียงผิดปกติให้หนีออกจากอาคารโดยเร็ว ห้ามใช้ไม้ขีดไฟ จุดเทียน จุดไฟ GAS
หรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้าในอาคาร
4. ถ้าพบต้นไม้หักโค่น เสาไฟฟ้าล่ม สายไฟฟ้าขาด รีบบอกผู้ปกครอง และให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาแก้ไขซ่อมแซมโดยด่วน
5. เมื่อพบเห็นสายไฟฟ้าขาดห้ามเข้าใกล้บริเวณนั้นและไม่ใช้ไม้ หรือวัสดุอื่นเขี่ยหรือจับสายไฟฟ้า เพราะอาจ HIGH VOLTAGE CABLE
ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิตได้
6. หากสายไฟฟ้าขาดตกลงน้ำ ห้ามลงน้ำโดยเด็ดขาดเพราะอาจถูกไฟฟ้าดูดจนเสียชีวิตได้
7. ถ้าสายไฟฟ้าพาดบนรถยนต์
หากอยู่ในรถ ห้ามลงจากรถจนกว่าจะแน่ใจว่ากระแสไฟฟ้าถูกตัดแล้ว ยกเว้นกรณีรถเกิดเพลิงไหม้
บอกผู้ปกครองให้เคลื่อนรถออกจากบริเวณดังกล่าว หากไม่สามารถทำได้ ให้ขอความช่วยเหลือ
จากคน ที่อยู่นอกรถ หรือโทรแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าบริเวณเกิดเหตุ
วิธีการลงจากรถที่มีสายไฟฟ้าพาดอยู่ต้องกระโดดลอยตัวลงจากรถโดยไม่ให้อวัยวะส่วนหนึ่ง
ของร่างกายสัมผัสกับพื้นและตัวรถพร้อมกัน เมื่อเท้าแตะถึงพื้นแล้ว ให้ก้าวเท้าช่วงสั้นๆ ออกห่าง
จากตัวรถมากที่สุด และห้ามกลับเข้าไปในรถจนกว่าจะตัดกระแสไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว
8. หากมีสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อนบ้านต้องการความช่วยเหลือ ให้แจ้งผู้อื่นที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้
9. ติดต่อขอความช่วยเหลือโดยใช้โทรศัพท์แจ้ง 191 หากมีคนได้รับบาดเจ็บและได้รับอันตราย
10.ติดตามรับฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งหรือรับแจ้งว่าพายุได้สงบลงแล้ว 191
230