Page 234 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 234

4.1 บทน�าและกระบวนการพัฒนา


            ความเป็นมาและความส�าคัญของปัญหา

                    สถานการณ์การสูบบุหรี่ในวัยรุ่นของประเทศไทย ในประเด็นพฤติกรรม
            การสูบบุหรี่ พบว่า อัตราความถี่ของการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นเท่ากับ 22.4 อัตราการ
            สูบบุหรี่ของวัยรุ่นชายเท่ากับร้อยละ 39.5 และอัตราการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง
            เท่ากับร้อยละ 2.3 โดยวัยรุ่นชายมีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุดในภาคใต้ส่วนวัยรุ่นหญิง

            มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุดในกรุงเทพฯ อายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่หมดมวนครั้งแรก
            เท่ากับ 15.3 ปี โดยอายุน้อยที่สุดที่เริ่มสูบบุหรี่ คือ 11 ปี ในกลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่
            เกือบครึ่งหนึ่งสูบบุหรี่ทุกวันหรือเกือบทุกวันและเกือบสามในสี่มีอาการติดบุหรี่
            เป็นที่น่าห่วงใยว่า วัยรุ่นที่เคยสูบบุหรี่เมื่ออยู่กับพ่อแม่มีสัดส่วนสูงขึ้นมาก
            เมื่อเปรียบเทียบกับการส�ารวจในรอบที่ผ่านมา แสดงว่า ครอบครัวของวัยรุ่น
            ส่วนใหญ่รับรู้และยอมรับการสูบบุหรี่ของลูก ทัศนคติของวัยรุ่นไทยต่อการสูบบุหรี่
            พบว่า วัยรุ่นไทยยอมรับการสูบบุหรี่ของเพศชายมากกว่าการสูบบุหรี่ของเพศหญิง

            โดยวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ยอมรับการสูบบุหรี่มากกว่าวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่ วัยรุ่นส่วนใหญ่
            มีความรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ดีมาก โดยวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่
            มีความรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ดีกว่าวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ และปัจจัย
            แวดล้อมต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น ได้แก่บุคคลในครอบครัว และเพื่อนสนิทต่างมี
            บทบาทส�าคัญต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น โดยวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน

            ที่มีผู้สูบบุหรี่จะมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูบบุหรี่ นอกจากนี้
            วัยรุ่นที่สูบบุหรี่เกือบทั้งหมดมีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 คน และเกือบครึ่ง
            มีเพื่อนสนิททั้ง 5 คนสูบบุหรี่ และในประเด็นของผลกระทบของนโยบายควบคุม
            การบริโภคยาสูบในประเทศไทย พบว่า นโยบายหลายด้านประสบความส�าเร็จอย่าง
            ต่อเนื่อง โดยการห้ามสูบบุหรี่ทุกพื้นที่ในบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ
            ฉลากค�าเตือนบนซองบุหรี่ส่งผลให้วัยรุ่นคิดถึงอันตรายต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่
            มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฏหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ

            ยังขาดความเข้มแข็ง และยังพบว่า การขายบุหรี่ให้แก่เด็กอายุต�่ากว่า 18 ปี และ
            การวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย ยังคงอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น


                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   233
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239