Page 239 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 239
เพื่อการลงมือท�าบางสิ่งอย่างต่อเนื่องโดยต้องอาศัยความถนัดหรือความสามารถ
เฉพาะตัวจนบรรลุเป้าหมายที่ก�าหนดไว้ ระดับการรับรู้ความสามารถที่ตัวเองมีจึง
เป็นตัวแปรส�าคัญที่คอยก�าหนดระดับพฤติกรรมหรือการกระท�า
สรุปได้ว่า ยิ่งรับรู้ความสามารถของตนเอง ก็จะยิ่งดึงความสามารถที่มี
อยู่ในตัวออกมาใช้ท�างานหรือใช้ด�าเนินชีวิตได้เต็มศักยภาพ ต่อให้คนสองคน
มีความสามารถเรื่องเดียวกันในระดับพอๆ กัน ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งคู่จะใช้
ประโยชน์จากความสามารถของตนได้เท่ากัน เพราะขึ้นอยู่กับว่าใครรับรู้ความ
สามารถได้มากกว่า คนนั้นย่อมท�าได้ดีกว่า
ความเชื่อมั่นต่อตัวเองว่าเป็นคนมีความสามารถจึงเป็นกุญแจดอกส�าคัญที่
ท�าให้คนเข้าถึงความสามารถหรือทักษะของตัวเองได้ เพราะความเชื่อมั่นสร้างแรง
ผลักดันและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์จากความเข้าใจประโยชน์และคุณค่าในความสามารถ
ที่มีแบนดูราเรียกสิ่งนี้ว่า outcome expectation หรือความคาดหวังในผลลัพธ์
ซึ่งกระตุ้นให้คนคนนั้นมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นมาขัดขวางระหว่าง
ทาง อดทน และพยายามท�าต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ถอดใจกลางคัน
ระดับการรับรู้ความสามารถของตนกับระดับความคาดหวังผลที่ตามมาจึง
เป็นสองสิ่งที่สัมพันธ์กันตลอดเวลา เพราะท�านายได้ว่าคนคนนั้นจะตัดสินใจลงมือ
ท�าหรือไม่ ระดับยิ่งสูงยิ่งมีแนวโน้มท�าอย่างแน่นอน ส่วนระดับยิ่งต�่ายิ่งมีแนวโน้มไม่
ท�าอย่างแน่นอน
ในทางจิตวิทยา self-efficacy เป็นกระบวนการหนึ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้
และพัฒนาตลอดช่วงชีวิตตั้งแต่ วัยเด็กจนถึงวัยชรา เพราะเป็นรากฐานที่ท�าให้เกิด
self-esteem หรือความภาคภูมิใจและนับถือตนเองว่าเป็นคนมีความสามารถ
ซึ่ง self-efficacy พัฒนามาจากปัจจัย 4 ด้าน เท่ากับว่าถ้าต้องการสนับสนุนให้เกิด
การรับรู้ความสามารถของตน ก็ควรให้ความส�าคัญกับปัจจัยเหล่านี้
1. บรรลุประสบการณ์ที่ประสบความส�าเร็จ
เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ self-efficacy มากที่สุดและทรงพลังที่สุด เพราะ
เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ประสบการณ์จากความส�าเร็จหรือเข้าใกล้
ความส�าเร็จจะท�าให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถมากขึ้น หากล้มเหลว คนจะ
ไม่ได้มองว่าตนไร้ความสามารถ แต่จะคิดว่ายังพยายามไม่มากพอ หรืออาจเป็น
238 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research