Page 238 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 238
แบนดูร่า เชื่อว่าพฤติกรรมของคนเราไม่ได้เกิดขึ้นและเปลี่ยนด้วยสิ่งแวดล้อม
อย่างเดียว จะต้องมีปัจจัย 3 ปัจจัยร่วมด้วย ได้แก่
1. ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal factor = P)
2. เงื่อนไขเชิงพฤติกรรม (Behavior condition = B)
3. เงื่อนไขเชิงสภาพแวดล้อม (Environment condition = E)
สิ่งที่จะก�าหนดประสิทธิภาพของการแสดงออก ขึ้นอยู่กับการรับรู้ความ
สามารถของตนเองในสภาพการณ์นั้น นั่นคือ ถ้าบุคคลมีความเชื่อว่าตนเองสามารถ
อย่างไร ก็จะแสดงออกถึงความสามารถนั้นออกมาคนที่มีความเชื่อตนเองว่ามีความ
สามารถ จะมีความอดทนอุตสาหะ ไม่ท้อถอยและจะประสบความส�าเร็จ
องค์ประกอบที่ส�าคัญคือ
1. การรับรู้ความสามารถของตนเองในการพัฒนาความสามารถตนเอง
มี 4 วิธี
- ประสบการณ์ที่ประสบความส�าเร็จ
- การได้เห็นประสบการณ์ผู้อื่น
- การใช้ค�าพูดชักจูง
- การกระตุ้นอารมณ์
2. ความคาดหวังผลลัพธ์ของการปฏิบัติ (ขึ้นอยู่กับมิติ 3 มิติ)
- มิติระดับความคาดหวัง คือความคาดหวังของบุคคลในการกระท�าสิ่ง
ต่างๆ จะผันแปรตาม ความยากง่ายของงานที่ท�า
- มิติความเข้มแข็งของความมั่นใจ
- มิติที่เป็นสากลเป็นความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถของตนเอง
และน�าไปปฏิบัติ ในสถานการณ์ที่คล้ายกัน
Self-Efficacy Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการรับรู้สมรรถภาพและ
ศักยภาพที่มีอยู่ภายในตัวเอง ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกปี 1986 ในหนังสือ Social
Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory
โดย อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura) นักจิตวิทยาสังคมชาวแคนาดา-อเมริกัน
แบนดูราอธิบายว่า perceived self-efficacy (นิยมเรียกอย่างกระชับว่า
self-efficacy) คือการรับรู้ได้ถึงความสามารถของตนเอง ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจ
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 237
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research