Page 241 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 241
ทฤษฎีปัญญาสังคมเน้นหลักการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational
Learning) เกิดจากการที่บุคคลสังเกตการกระท�าของผู้อื่นแล้วพยายามเลียนแบบ
พฤติกรรมนั้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางสังคมเราสามารถพบ
ได้ในชีวิตประจ�าวัน เช่น การออกเสียง การขับรถยนต์ การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ
เป็นต้น
ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
1. ขั้นให้ความสนใจ (Attention Phase) ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจ
จะไม่เกิดขึ้น เป็นขั้นตอน ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความ
สามารถ ความมีชื่อเสียง และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียน
สนใจ
2. ขั้นจ�า (Retention Phase) เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ
จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจ�าของตนเอง ซึ่งมักจะจดจ�าไว้เป็นจินตภาพ
เกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม
3. ขั้นปฏิบัติ (Reproduction Phase) เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดง
พฤติกรรมตามตัวแบบ ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจ�าไว้
4. ขั้นจูงใจ (Motivation Phase) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระท�า
(Consequence) จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ
(Vicarious Consequence) เป็นไปในทางบวก (Vicarious Reinforcement) ก็จะ
จูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ ถ้าเป็นไปในทางลบ (Vicarious
Punishment) ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ
หลักพื้นฐานของทฤษฎีปัญญาสังคม มี 3 ประการ คือ
1. กระบวนการเรียนรู้ต้องอาศัยทั้งกระบวนการทางปัญญา และทักษะ
การตัดสินใจของผู้เรียน
2. การเรียนรู้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ 3 ประการ ระหว่าง
ตัวบุคคล (Person) สิ่งแวดล้อม (Environment) และพฤติกรรม (Behavior) ซึ่งมี
อิทธิพลต่อกันและกัน
240 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research