Page 240 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 240

เพราะปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออ�านวย ซึ่งมักจะอยู่นอกเหนือการ
            ควบคุมของเรา

                    2. ใช้ประสบการณ์ของคนอื่นเป็นต้นแบบ
                      แบนดูราให้ความส�าคัญกับแบบอย่าง (modeling) เพราะเขาเชื่อว่า
            หากใครก็ตามเห็นตัวแบบที่มีความสามารถเหมือนตัวเองแล้วท�าส�าเร็จได้ จะช่วยให้
            ผู้นั้นรับรู้ถึงความเป็นไปได้ว่าตนเองก็มีโอกาสท�าได้ส�าเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งต้นแบบที่
            ว่าเป็นได้ทั้งคนใกล้ชิดที่พบปะในชีวิตประจ�าวัน และบุคคลสาธารณะที่เห็นผ่านสื่อ
            หรือบุคคลส�าคัญที่เราชื่นชมความสามารถ
                    3. จูงใจโดยใช้ค�าพูด
                      การใช้ค�าพูดเชิงให้ก�าลังใจ โน้มน้าว และชักจูง ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ
            ให้รับรู้ความสามารถของตนได้ แต่การใช้ค�าพูดอย่างเดียวโดยขาดประสบการณ์
            ร่วม จะส่งผลแค่ช่วงแรกเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ จึงจ�าเป็นต้องใช้ค�าพูดจูงใจ

            ควบคู่กับการลงมือท�าอย่างจริงจังเพื่อให้ได้สัมผัสกับความส�าเร็จ จะท�าให้เกิด
            self-efficacy ในระยะยาวได้
                    4. พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
                      ความพร้อมทั้งร่างกายที่แข็งแรงและสภาวะอารมณ์ที่มั่นคงท�าให้คนรับ
            รู้ความสามารถของตนได้ดียิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากร่างกายอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่
            ยังไม่พร้อม หรือก�าลังเจ็บป่วย ประกอบกับอารมณ์ ด้านลบอย่างความกลัวหรือ
            ความวิตกกังวล จะท�าให้รับรู้ได้ไม่ดี หรือไม่อาจรับรู้ถึงความสามารถของตนได้เลย
                      หลักใหญ่ใจความของ self-efficacy คือการสร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคน
            มีความสามารถในตัวเอง เมื่อรับรู้ได้และน�าออกมาใช้ในทางที่ถูกที่ควร จะท�าให้
            ทุกคนเก่งในที่ทางของตนเสมอ


            ทฤษฎีปัญญาสังคม
            (Social Learning Theory)

                    Albert Bandura (1962 - 1986) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้พัฒนา
            ทฤษฎีนี้ขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าของตนเอง เดิมใช้ชื่อว่า “ทฤษฎีการเรียนรู้
            ทางสังคม” (Social Learning Theory) ต่อมาเขาได้เปลี่ยนชื่อทฤษฎีเพื่อความ
            เหมาะสมเป็น “ทฤษฎีปัญญาสังคม”


                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   239
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245