Page 167 - รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563
P. 167
การปรับเปลี่ยนการดำาเนินงานของธนาคารสู่ดิจิทัล
103-1
ความสำาคัญของประเด็นการปรับเปลี่ยนการดำาเนินงานของธนาคารสู่ดิจิทัล
ในปัจจุบันการพัฒนาทางด้านดิจิทัลของธุรกิจโดยเฉพาะสถาบันการเงินถือเป็นปัจจัยการแข่งขันหนึ่งที่สำาคัญของธุรกิจ
ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำาคัญที่ทำาการเข้าถึงลูกค้าในยุคสมัยปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
ไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมสำาคัญที่ทำาให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงหันมาใช้บริการ
รูปแบบ Mobile Banking มากยิ่งขึ้น สำาหรับการพัฒนาสู่การเป็น Digital Banking ของธนาคารออมสินยังคำานึงถึงการส่งเสริม
ให้ประชาชนทุกระดับของประเทศมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินทุกประเภท จากปัจจัยข้างต้นจึงจำาเป็นอย่างยิ่งที่ธนาคาร
จะต้องเร่งพัฒนาและนำาเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และช่องทางการให้บริการ เพื่อตอบสนอง
ต่อความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลง ตลอดจนถึงการขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอน
เป้าหมายการดำาเนินงานด้านดิจิทัล
• คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และการส่งมอบในรูปแบบดิจิทัล
• ร่วมกับพันธมิตรสร้าง New Business Model บน Digital Platform
• ส่งเสริมและพัฒนากลไกการบริหารจัดการนวัตกรรมในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
103-2
แนวการบริหารจัดการต่อประเด็นการปรับเปลี่ยนการดำาเนินงานของธนาคารสู่ดิจิทัล
ธนาคารได้กำาหนดแผนปฏิบัติการดิจิทัลระยะ 3-5 ปี (Digital Roadmap) ที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนวิสาหกิจ ธนาคารและ
นโยบายต่าง ๆ ของธนาคารเข้ากันกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2563-2567 ใหม่ที่ได้มีการทบทวนภายใต้พันธกิจ
การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร IT ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การนำาเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาและยกระดับกระบวนการทำางาน
ให้คล่องตัว ยืดหยุ่น sfss รองการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ และการพัฒนาเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับลูกค้าและองค์กร
โดยได้กำาหนดกรอบทิศทางการกำากับดูแลด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Governance) ด้วยมาตรฐานสากลและ
แนวปฏิบัติที่ดี
รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำาปี 2563 163