Page 146 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 146
ใบความรู้แจกทุกคน
รูปแบบความรุนแรงบนโลกไซเบอร์
• การสบประมาท ดูหมิ่นบุคคล โพสต์ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือเรื่องราวหมิ่นประมาทเกี่ยวกับบุคคลบนเว็บบอร์ด
ห้องแชท ข้อความมือถือ หรืออีเมล (การล่วงละเมิดออนไลน์)
• การทำลายชื่อเสียงหรือดูหมิ่นบุคลิกของบุคคลใดบุคคลหนึ่งด้วยเจตนาดูหมิ่น โดยเผยแพร่ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลเท็จ
เกี่ยวกับบุคคลนั้นบนโลกไซเบอร์ (การหมิ่นประมาททางไซเบอร์)
• การรีดไถเงินและสิ่งของมีค่าหรือสกุลเงินดิจิทัล เช่น สกุลเงินในเกมหรือการขอรหัส Wi-Fi ผู้เสียหาย
(การขู่กรรโชกทางไซเบอร์)
• การทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งรู้สึกวิตกกังวลและกลัว โดยส่งข้อความ รูปภาพและ / หรือวิดีโอที่บุคคลนั้น
ไม่ต้องการซ้ำๆ (การสะกดรอยทางออนไลน์)
• การห้ามไม่ให้ออกจากการแชทออนไลน์รวมถึงแชทกลุ่มในโซเชียลมีเดีย อีกทังล้อเลียนและด่าทอใส่บุคคลนั้น
หรือกีดกันไม่ให้เข้าร่วมแชทได้ (การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ หรือ การกักขังหน่วงเหนี่ยวในโลกไซเบอร์)
• การคุกคามบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยส่งหรือกระจายภาพลามกอนาจารและ / หรือวิดีโอ หรือภาพถ่ายส่วนต่างๆ
ของร่างกายของบุคคลนั้น ซึ่งละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ผ่านเครือข่ายข้อมูลและการสื่อสารโดยไม่ได้รับความยินยอม
จากบุคคลนั้น (การประจานทางออนไลน์)
“ “
จําไว้ว่า
• ไม่มีใครสมควรถูกทำร้ายจิตใจบนโลกไซเบอร์
• อย่าโทษตัวเอง หากโดนรังแกหรือถูกทำร้ายจิตใจ
• แม้การทำร้ายบนโลกไซเบอร์อาจทำให้คุณรู้สึกโดดเดี่ยวและหวาดกลัว ขอให้เชื่อมั่นว่ามีคนคอยช่วยเหลือคุณเสมอ
่
เมือรู้สึกว่ากําลังถูกทําร้ายบนโลกไซเบอร์
1. ขอความช่วยเหลือจากคนที่ไว้ใจได้
2. แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน หากประเมินแล้วว่ารูปแบบการกลั่นแกล้งหรือทำร้ายจิตใจเหล่านั้น
อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตคุณ
3. อย่าตอบโต้กลับโดยใช้อารมณ์ เพราะจะทำให้เรื่องแย่ลง
4. เก็บหลักฐานไว้ โดยถ่ายภาพข้อความ รูปภาพที่มีคนส่งมาเพื่อทำร้ายจิตใจคุณ
เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบการแจ้งความ
5. กดรีพอร์ตบุคคลนั้น หรือแอพ หรือเกม ที่ส่งข้อความมาป่วน กลั่นแกล้ง หรือทำร้ายจิตใจ
6. กดบล็อกคนที่ตั้งใจมารบกวน กลั่นแกล้งคุณทันที
141