Page 54 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 54

3.  เมื่อเล่นครบจนจบ  ให้ทุกคนกลับมานั่งที่เดิม จากนั้น ผู้จัดการเรียนรู้ถามผู้เรียนคนที่ไม่สามารถบอกชื่อเพื่อน

                      หรือชื่อสัตว์ได้ครบ พร้อมกับจดคำตอบที่ได้ขึ้นบนกระดานให้ทุกคนเห็น
                  “สังเกตเห็นอะไรบ้างจากเพื่อนในวงคนที่สามารถบอกชื่อเพื่อนหรือชื่อสัตว์ได้ครบท่าทางของเขาเป็นอย่างไร”

                  “ถ้าเราได้เล่นใหม่อีกครั้ง เพื่อสามารถบอกชื่อเพื่อนหรือชื่อสัตว์ได้ครบนั้น คิดว่าต้องทำอะไรเพิ่มบ้าง”

                 4.  ผู้จัดการเรียนรู้ถามผู้เรียนกลุ่มใหญ่ ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมบอกชื่อเพื่อนและชื่อสัตว์ พร้อมกับจดคำตอบ

                      ขึ้นกระดาน    “เกมที่เพิ่งเล่นจบไปนั้น ถ้าเปรียบเป็นการฟัง เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง”
                 5.  จากนั้น อธิบายเพิ่มเติมโดยเชื่อมโยงจากคำตอบของผู้เรียนที่ระดมขึ้นไว้บนกระดานว่า รูปแบบของการฟัง

                      ที่เราพบเจอทุกวันนั้น มีหลายระดับตั้งแต่

                    ▪    ไม่สนใจฟัง    ทำเหมือนผู้พูดกำลังพูดอยู่กับกระจก

                    ▪    แกล้งฟัง      พยักหน้า ทำเสียงรับคำ เพียงแค่ได้ยิน แต่ไม่ได้ฟัง
                    ▪    เลือกฟัง      ฟังเฉพาะสิ่งที่อยากฟัง หรือคิดว่ามีประโยชน์ ตรงกับความสนใจ

                    ▪    ตั้งใจฟัง     ฟังด้วยหู อยู่กับปัจจุบัน ได้ข้อมูลครบตามที่ฟัง

                    ▪    ใส่ใจฟัง      ฟังด้วยหู ด้วยตา ด้วยใจ ได้ยินทุกคำและรับรู้อารมณ์ของผู้พูด ฟังอย่างมีสติ ไม่ตัดสิน








































                 6.  ถามผู้เรียนว่าสำหรับการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ คิดว่า การฟังระดับไหนที่ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้ได้ผลเพราะอะไร

                 7.  จากนั้น ให้ผู้เรียนจับกลุ่ม 3 คน โดยคนที่ 1 รับบทเป็นคนที่มาจากโลกปัจจุบัน  คนที่สอง รับบทเป็นคนที่อยู่

                      ในโลกเมื่อ 500 ปีก่อน และคนที่ 3 ทำหน้าที่สังเกตการณ์











      49
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59