Page 57 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 57
ใบความรู้สําหรับแจกผู้เรียนทุกคน
้
การฟังอย่างตังใจ
เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญโดยเฉพาะสำหรับผู้จัดการเรียนรู้ที่ต้องการสร้าง
“พื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้เรียน” และอยากเข้าถึงหัวใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง
การฟังในที่นี้ยังหมายรวมถึงทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปด้วย เช่น
. การมีสติจดจ่อกับผู้พูด หมายถึงสมาธิที่อยู่กับปัจจุบันขณะด้วยท่าทีเป็นมิตร
ท่ามกลางความวุ่นวายหรือการรบกวนจากสภาพแวดล้อม เช่น เสียงออดดัง
เสียงรถขับผ่าน งานมากมายที่รออยู่ ฯลฯ
. การอดทนอดกลั้น เพื่อให้ผู้พูดพูดได้อย่างต่อเนื่องเต็มที่ ไม่พูดแทรก แย่งถาม
หรือรีบให้คำสอน
. การเข้าอกเข้าใจ ไม่ด่วนตัดสิน หรือคิดเอาเองว่าผู้พูด หรือสิ่งที่ผู้พูดได้กล่าวมานั้น
ดีหรือไม่ดี ถูกหรือผิด
. การสังเกต ระหว่างการพูดคุยว่ามีสีหน้า แววตา ท่าที หรืออาการอะไรบ้าง
. การสะท้อนกลับ เป็นความสามารถจับประเด็นสิ่งที่ได้ยิน รวมถึงสามารถ
สะท้อนอารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูดได้
. การตั้งคำถาม ไม่ใช้การตั้งคำถามชี้นำ แต่เป็นคำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้พูดได้คิด
และพบทางออกที่เหมาะสมด้วยตนเอง
. การสื่อสารเชิงบวก โดยเลือกใช้คำพูดเพื่อเสริมกำลังใจหรือสนับสนุนด้านบวก
ทั้งนี้ การสื่อสารเชิงบวกไม่ใช่การสปอยล์ พูดเอาใจ หรือชื่นชมเพียงอย่างเดียว
หากแต่เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้สามารถพูดความรู้สึกและความต้องการได้อย่าง
ตรงไปตรงมาบนพื้นฐานเจตนาที่ดี
. การสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ด้วยการรักษาความลับ และคอยเน้นย้ำ
ให้ผู้เรียนในห้องช่วยกันรักษาความลับที่เพื่อนกล้าตัดสินใจแบ่งปันให้ฟัง โดยไม่นำ
ไปพูดต่อหรือแกล้งแซว หรือแม้แต่ระหว่างกิจกรรม หากต้องการเล่าเรื่องราว
ของเพื่อน ก็ควรขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่องก่อน
52