Page 40 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 40
จากตารางที่ 6 สรุปว่าเด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เสี่ยง
(ไม่ควรบริโภคบ่อยเกินไป) เช่น ไม่รับประทานอาหารปิ้งย่าง อาหารทอด อาหาร
ผัดน�้ามัน อาหารแกงกะทิ หรืออาหารส�าเร็จรูป และอาหารถุงจากร้านขายข้างแกง
หรือขนมกรุบกรอบซองๆ เป็นต้น โภชนาการที่มีประโยชน์ ควรบริโภคเป็นประจ�าอยู่
ในระดับดี เช่น การรับประทานผลไม้ตามฤดูกาล แกงไม่ใส่กะทิเป็นต้น
ตารางที่ 7 การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างก่อนและหลังการร่วม
กิจกรรมปฏิบัติการด้านพฤติกรรมบริโภคอาหารทั่วไป การบริโภคอาหารที่ชอบ
และความรู้/ตระหนักรู้เกี่ยวกับการบริโภคต่อสุขภาพในเด็กและเยาวชน 5 ศูนย์ฝึกฯ
(N = 187 คน)
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ก่อนทดลอง หลังทดลอง t p-value
(คะแนนรวม) N Mean± SD. N Mean± SD.
อาหารรับประทานบ่อย 187 2.79±.34 187 3.11±.42 -3.11 .002*
อาหารที่ชอบ 187 2.67±.34 161 2.83±.67 -9.28 .000*
ความรู้/ตระหนักรู้ 187 3.55±.70 162 4.11±.65 -8.56 .000*
เกี่ยวกับพฤติกรรมบริโภค
ต่อสุขภาพ
* Significance, p < .05
การเปรียบเทียบทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารทั่วไป ทัศนคติ (ความชอบ
เกี่ยวกับอาหารที่ชอบ และความรู้หรือความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมบริโภค
ต่อสุขภาพ พบว่าหลังร่วมกิจกรรมปฏิบัติการเด็กและเยาวชนมีการเปลี่ยนแปลง
ทุกหมวดในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05
พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 39
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research