Page 79 - รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล ปีที่ 4
P. 79
๘) จัดโครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ
แรงงาน มีผู้ผ่านการทดสอบจะได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อเป็นหลักฐานรองรับการจ่ายค่าจ้าง
ตามมาตรฐานฝีมือ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม/ทดสอบ จ านวน ๓๑,๓๔๗ คน และผู้ผ่าน
การฝึกอบรม/ทดสอบ จ านวน ๒๐,๙๙๑ คน และปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม/ทดสอบ
จ านวน ๖,๒๒๐ คน และผู้ผ่านการฝึกอบรม/ทดสอบ จ านวน ๔,๑๗๙ คน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ๒๕๖๕)
๙) โครงการจัดการศึกษาด้านอาชีพเพื่อรองรับการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor: EEC) ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ EEC จ านวน ๘๐ โรงเรียน โดยการสร้าง
หรือพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมหลักสูตรสถานศึกษา สื่อ นวัตกรรมที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC
ตามบริบทของแต่ละโรงเรียน รวมทั้งจัดกิจกรรม Show & Share Metaverse นิทรรศการเสมือนจริงให้ครู
ในพื้นที่ EEC ได้ร่วมแบ่งปันไอเดียผลงานการออกแบบกิจกรรมสร้างสมรรถนะ และการพัฒนารายวิชาเพิ่มเติม
ที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC สู่หลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักสูตร “ยานยนต์
และขนส่งสมัยใหม่” หลักสูตร “อาหารและอาหารเพื่ออนาคต” และหลักสูตร “อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
๑๐) โครงการผลิตและพัฒนาก าลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อผลิต
และพัฒนาก าลังคนอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลมีทักษะความรู้
ความสามารถตรงกับความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่ สามารถรองรับความต้องการก าลังคน
ใน ๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้อย่างเพียงพอ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ตรง
กับความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมาย ฝึกอบรมให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
โดยด าเนินกิจกรรมพัฒนาบุคลากรร่วมกับสถานประกอบการในรูปแบบ EEC Model Type A โดยได้พัฒนาสมรรถนะ
ผู้เรียนอาชีวศึกษาไปแล้ว จ านวน ๔,๒๑๑ คน นักเรียนในสถานศึกษาในสังกัดส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
และแรงงานในสถานประกอบการที่ได้จัดท าบันทึกความร่วมมือกับสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จ านวน ๒๐ แห่ง มีความรู้ทักษะ นิสัยอุตสาหกรรม คุณธรรม จริยธรรม
และความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพ และการด ารงชีวิตในเขตพัฒนา
พิเศษภาคตะวันออก
๑๑) พัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม ๔.๐ ด าเนินการในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ เช่น พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมชีวภาพ กระบวนการแปรรูปด้วยนวัตกรรม
และเทคโนโลยีชีวภาพ จ านวน ๒๐๐ คน พัฒนาองค์ความรู้และทักษะการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมและบริการ
ทางการแพทย์ จ านวน ๒๑๒ คน พัฒนาด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติและดิจิทัล พัฒนาองค์ความรู้
ด้าน Lean Automation จ านวน ๓๗๒ คน พัฒนาองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เพื่อยกระดับ
กระบวนการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ จ านวน ๒๐๐ คน เป็นต้น ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้ด าเนินการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม ๔.๐ อาทิ พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
กับอุตสาหกรรมชีวภาพด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจใหม่ BCG และอุตสาหกรรมชีวภาพ จ านวน ๕๐ คน
พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัลให้สามารถประกอบ ติดตั้ง และเชื่อมโยงระบบทางกล
ระบบควบคุม ระบบประมวลผล และซอฟต์แวร์ปฏิบัติการ ให้เกิดการท างานร่วมกันเป็นอัตโนมัติ/พัฒนาบุคลากร
ให้มีองค์ความรู้เทคโนโลยีอัตโนมัติผ่านกลไกความร่วมมือต่างประเทศ จ านวน ๔๐ คน
รายงานผลการด าเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ ๔
รายงานผลการดำำาเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์์ จัันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที� ๔
75
(๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕) ๗๕
(๒๕ กรกฎาคม - ๓๑ ธ์ันวาคม ๒๕๖๕)