Page 28 - ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2563 - 2566
P. 28

(17)  ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการตรวจ HbA1c อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี
           (เป้าหมาย≥70%)

                        (18) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจไขมัน LDL และมีค่า LDL < 100 mg/dl
           (เป้าหมาย ≥55%)
                        (19) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจไขมัน LDL (เป้าหมาย ≥ 65%)
                        (20) ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วนลงพุง [รอบเอวมากกว่า (ส่วนสูง (ซม.)/2)]
           (เป้าหมาย ≤ 60%)
                        (21) ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะอ้วน [BMI ≥ 25 กก./ตร.ม.] ลดลงจาก
           ปีงบประมาณที่ผ่านมา (เป้าหมาย ≥ 5%)


                  2. ตัวชี้วัดโรคความดันโลหิตสูง จ�านวน 12 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น
                    2.1 กลุ่มปกติ ประกอบด้วย
                        (1) ตัวชี้วัดร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยความดัน
           โลหิตสูง (เป้าหมาย ≥ 90%)
                        (2) ร้อยละของประชากรอายุ 35 – 59 ปีขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยความดัน
           โลหิตสูง (เป้าหมาย ≥ 80%)

                    2.2 กลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย
                        (3) ร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากผู้ที่มีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์
           เกือบสูง (กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง)
                    2.3  กลุ่มสงสัยป่วย ประกอบด้วย
                        (4)  ตัวชี้วัดร้อยละการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัยกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
           (เป้าหมาย ≥ 80%)
                        (5)  ตัวชี้วัดร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับ

           การตรวจติดตาม (วัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน (HBPM) หรือตรวจวัดความดันโลหิตซ�้าในสถานบริการ
           สาธารณสุขเดิม)
                    2.4  กลุ่มป่วย ประกอบด้วย
                        (6)  ร้อยละของผู้ที่มีความดันโลหิต ≥ 180/110 mmHg จากการคัดกรองได้รับการวินิจฉัย
           (ตัวชี้วัดใหม่ ปี 65)
                        (7)  อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากรในปีงบประมาณ

                        (8) ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน และมารับการรักษาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
           (เป้าหมาย ≥ 90%)
                        (9) ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี (เป้าหมาย ≥ 60%)
                        (10)  ร้อยละผู้ป่วยนอกที่มีค่า SBP ≥ 180 mmHg และ/หรือ DBP ≥ 110 mmHg ได้รับ
           การลงรหัส R03.0 และ/หรือได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (I10 – I15) จากการค้นหา
           ในโรงพยาบาล ในวันนั้น (ตัวชี้วัดใหม่ Hospital BP ปี 65 เป้าหมาย ≥ 80%)




   NCD       16   ทบทวนตัวชี้วัดเพื่อกำ�กับติดตามคุณภาพบริการด้านโรคไม่ติดต่อ
                  พ.ศ.�2563-2566
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33