Page 29 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 29
ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายและรถจักรยานยนต์ที่จำเลยใช้เป็นยานพาหนะในการ
นำฝิ่นมาจำหน่ายให้กับสายลับผู้ล่อซื้อเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ
ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔, ๗, ๘, ๑๗, ๕๗, ๖๙, ๙๑, ๙๗ พระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๓ ทวิ, ๑๕๗/๑ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ขอริบฝิ่นที่เหลือ
จากการตรวจพิสูจน์และรถจักรยานยนต์ของกลางและเพิ่มโทษจำเลยอีกกึ่งหนึ่งตามกฎหมาย
จำเลยให้การรับสารภาพและรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ โดยรับว่า
เคยต้องโทษจำคุกและพ้นโทษจริงตามฟ้อง
ศาลจังหวัดฮอดพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง, ๕๗, ๖๙ วรรคสอง, ๙๑ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔๓ ทวิ วรรคหนึ่ง, ๑๕๗/๑ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ จำเลยให้การ
รับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๘ ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุก ๑ ปี ๑๒ เดือน ริบของกลาง
คดีมีปัญหาให้อัยการสูงสุดชี้ขาดความเห็นแย้งอุทธรณ์ว่า ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย
ฐานมีฝิ่นไว้ในครอบครองและจำหน่ายฝิ่นโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง, ๕๗, ๖๙ วรรคสอง ชอบหรือไม่
อัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว เห็นว่า ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๕ มีความเห็นแย้งว่า
การกระทำความผิดของจำเลยนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง, ๖๙ วรรคสาม ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยพระราชบัญญัติยาเสพติด
ให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง, ๖๙ วรรคสอง เป็นการปรับบทกฎหมายลงโทษผิด
วรรคและระวางโทษจำคุกต่ำกว่าระวางโทษตามมาตรา ๖๙ วรรคสาม เป็นการปรับบทกฎหมาย
และลงโทษไม่ชอบนั้น ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๙ วรรคสาม
บัญญัติว่า “ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นมอร์ฟีน
ฝิ่น หรือโคคาอีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงหนึ่งร้อยกรัม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี หรือปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...” ซึ่งต้องปรากฏ
ข้อเท็จจริงจากการสอบสวนว่าปริมาณฝิ่นที่ตรวจพิสูจน์ได้นั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์
มีจำนวนเท่าใด เพื่อที่จะใช้เป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๖๙ วรรคสามดังกล่าว และจะต้อง
บรรยายมาในคำฟ้องเพื่อให้ศาลพิพากษาลงโทษตามมาตรา ๖๙ วรรคสามได้ มิเช่นนั้นจะเป็น
การพิพากษาเกินคำฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 1