Page 68 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 68
เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งถอนประกันโจทก์ที่ ๑ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ ย่อมต้องถือว่า
โจทก์ทั้งสองรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖
และคดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๒ เมื่อโจทก์ทั้งสองอ้างว่า พนักงานอัยการในสังกัดของ
จำเลยที่ ๒ ยื่นฟ้องโจทก์ที่ ๑ ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ ๙๙๐/๒๕๓๖
หมายเลขแดงที่ ๓๐๖๙/๒๕๕๑ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าโจทก์ทั้งสองรู้ถึงการ
ละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่วันที่พนักงานอัยการในสังกัดของจำเลยที่ ๒
ยื่นฟ้อง กล่าวคือเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๖ แล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้
เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔ คดีของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นอันขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่ง ทุกกรณี และเมื่อโจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องจำเลยทั้งสามภายใน ๑ ปี
นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว กรณีไม่ย่อมจำต้องวินิจฉัยว่า
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิดหรือไม่ สำหรับคดีในส่วน
ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๓ นั้น โจทก์ทั้งสองอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ ๓ ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ ๑
และที่ ๒ เพราะเหตุว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ เป็นหน่วยงานในสังกัดของจำเลยที่ ๓ แต่เมื่อคดี
ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่ง แล้ว คดีในส่วนของจำเลยที่ ๓ ย่อมต้องเป็นอันขาดอายุความตาม
บทบัญญัติดังกล่าวด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสารสนเทศ
สำนักงานวิชาการ
58 คำพิพากษาศาลฎีกา