Page 66 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 66

เกี่ยวกับจำเลยที่ ๑ โจทก์ทั้งสองกล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ ต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของ

          เจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ ๑ รวม ๒ กรณี กล่าวคือ กรณีแรก โจทก์ทั้งสองอ้างว่า
          เจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ ๑ สืบสวน สอบสวนและมีความเห็นสั่งฟ้องโจทก์ที่ ๑
          ในความผิดฐานร่วมกันก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

          ด้วยการใช้ จ้างวาน ยุยงส่งเสริม และด้วยวิธีอื่นใดโดยสร้างเรื่องขึ้นกล่าวหาโจทก์ที่ ๑ ว่า ร่วมกับ
          พวกจ้างวานฆ่านาย ป. ประธานศาลฎีกาในขณะนั้นโดยไม่มีมูลความจริง การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ
          โดยพลตำรวจตรี ล. เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๖ การกันนาย บ. เป็นพยาน เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๖

          การแจ้งข้อหาให้โจทก์ที่ ๑ รับทราบ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๖ และการทำความเห็นสั่งฟ้อง
          โจทก์ที่ ๑ ตามสำนวนการสอบสวนที่ส่งไปยังพนักงานอัยการเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๖
          ล้วนเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนี้

          เหตุละเมิดตามคำฟ้องในกรณีแรกนี้ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๖ อันเป็นวันที่
          โจทก์ที่ ๑ เข้ามอบตัวและรับทราบข้อกล่าวหา เพราะเป็นวันที่โจทก์ที่ ๑ ตกอยู่ในฐานะเป็น

          ผู้ต้องหาและอาจถูกจำกัดสิทธิบางประการ เช่น ต้องถูกควบคุมตัว หากไม่ได้รับอนุญาตให้
          ปล่อยชั่วคราว ส่วนเหตุละเมิดตามคำฟ้องในกรณีที่ ๒ โจทก์ทั้งสองอ้างว่า ระหว่างการพิจารณา
          ของศาลอาญากรุงเทพใต้ เจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ ๑ ไปยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญา

          กรุงเทพใต้ ถอนประกันโจทก์ที่ ๑ โดยอ้างว่าโจทก์ที่ ๑ ข่มขู่พยาน จ้างให้พยานกลับคำ หรือไม่ให้
          ไปเบิกความต่อศาล ซึ่งไม่เป็นความจริง เป็นเหตุให้ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งถอนประกัน

          โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๑ ต้องถูกคุมขังเป็นเวลา ๔ เดือนเศษก่อนได้รับการปล่อยชั่วคราวอีกครั้ง
          เหตุละเมิดตามคำฟ้องในกรณีนี้ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ อันเป็นวันที่
          ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งถอนประกันโจทก์ที่ ๑ สำหรับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ ๒ โจทก์

          ทั้งสองกล่าวในคำฟ้องว่า จำเลยที่ ๒ ต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของพนักงานอัยการในสังกัด
          ของจำเลยที่ ๒ เนื่องจากเมื่อพนักงานอัยการเห็นสำนวนการสอบสวน ควรต้องทราบว่ามีการสร้าง
          เรื่องขึ้นกล่าวหาโจทก์ที่ ๑ โดยไม่มีมูลความผิดอาญา และพนักงานอัยการยื่นคำฟ้องต่อศาลอาญา

          กรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ทั้งที่การสอบสวนเพิ่มเติมตามคำสั่งพนักงานอัยการเอง
          ยังไม่แล้วเสร็จ เหตุละเมิดตามคำฟ้องกรณีนี้ ต้องถือว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๖
          อันเป็นวันที่พนักงานอัยการในสังกัดของจำเลยที่ ๒ ยื่นคำฟ้องต่อศาล เพราะเป็นวันที่โจทก์ที่ ๑

          ตกอยู่ในฐานะเป็นจำเลย ดังนี้ เหตุละเมิดตามคำฟ้องที่เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ
          ในสังกัดของจำเลยที่ ๑ ทั้งสองกรณี และเหตุละเมิดตามคำฟ้องที่เกิดจากการกระทำของ

          พนักงานอัยการในสังกัดของจำเลยที่ ๒ จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ อันเป็นวันที่
          พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับทั้งสิ้น และพระราชบัญญัติ
          ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มิได้มีบทบัญญัติให้ใช้บังคับแก่คดีละเมิดที่เกิดขึ้น

          ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ แม้ว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔




              56    คำพิพากษาศาลฎีกา
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71