Page 63 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 63

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๙๓/๒๕๖๓

                ป.พ.พ. อายุความละเมิด (มาตรา ๔๔๘)

                พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙


                


  คดีนี้เป็นคดีที่เกิดขึ้นก่อน พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
                ใช้บังคับ และภายหลังจากที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
                ใช้บังคับก็มิได้มีบทบัญญัติให้ใช้บังคับแก่คดีละเมิดที่เกิดขึ้นก่อน แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จะเป็น
                วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแล้วก็ตาม ความรับผิดทางละเมิดของผู้กระทำผิด และ
                ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนี้  รวมทั้งอายุความในการฟ้องคดีย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของ
                บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่ง การฟ้องคดีจึงต้องฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัว
                ผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด โดยไม่ต้องรอให้ศาล
                ในส่วนคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องเสียก่อน เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

                ให้ความคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการที่ห้ามไม่ให้ฟ้อง
                เจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการโดยต้องรอผลคดีอาญาถึงที่สุดให้ยกฟ้องก่อนการฟ้องคดี
                จึงไม่ต้องรอคดีอาญาถึงที่สุดแต่ประการใด อายุความจึงไม่ได้เริ่มนับในวันที่ศาลอาญาพิพากษา
                ยกฟ้องโจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจ
                และพนักงานอัยการมิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวเจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานอัยการ
                ที่อ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรงไม่ว่าศาลอาญาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างไร ย่อมไม่
                ผูกพันหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการที่อ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์

                กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องรอให้ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องเสียก่อน
                การเริ่มนับอายุความจึงไม่ได้เริ่มนับในวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์
                     การฟ้องในมูลละเมิดคดีนี้ต้องฟ้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะ
                พึงใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยเหตุละเมิด เรื่อง การสืบสวนสอบสวนและมีคำสั่งฟ้องไม่ชอบด้วย
                กฎหมาย เมื่อโจทก์เข้ามอบตัวกับเจ้าพนักงานตำรวจ ถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัว
                ผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันมอบตัวและรับทราบข้อกล่าวหา (วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๖)
                เหตุละเมิด เรื่อง ขอให้ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งถอนประกันตัวโจทก์เมื่อศาลอาญากรุงเทพใต้
                มีคำสั่งถอนประกัน เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ ย่อมถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ตัว
                ผู้พึงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว และเหตุละเมิด เรื่อง พนักงานอัยการยื่นฟ้องโจทก์

                ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผลสอบเพิ่มเติมจะยังไม่กลับมา
                พนักงานอัยการเร่งรีบฟ้องคดีย่อมถือได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายในวันที่
                พนักงานอัยการยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ (๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๖)
                     เมื่อโจทก์ฟ้องคดี เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ ๑ ปี
                ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่ง ทุกกรณี
                                      ______________________________




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  53
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68