Page 65 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 65

วันเดียวกันพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนาย ส. นาย ณ. นาย อ. และโจทก์ที่ ๑ เป็นจำเลย

                ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ กล่าวหาว่า ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา
                และโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ด้วยการใช้ จ้างวาน ยุยงส่งเสริม และด้วยวิธีอื่นใด ตามคำฟ้องคดี
                หมายเลขดำที่ ๙๙๐/๒๕๕๑ ต่อมาวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๑ ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษาว่า

                นาย ส. นาย ณ. นาย อ. และโจทก์ที่ ๑ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙ (๔)
                ประกอบมาตรา ๘๓, ๘๔ ความผิดตามมาตรา ๒๘๙ (๔) มีโทษประหารชีวิต เมื่อความผิด
                มิได้กระทำลงเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ผู้ใช้ต้องระวางโทษหนึ่งในสามตามมาตรา ๘๔ วรรคสอง

                เมื่อลดมาตราส่วนโทษและเปลี่ยนโทษตามมาตรา ๕๒ (๑) และมาตรา ๕๐ แล้ว ให้จำคุกคนละ ๒๕ ปี
                เฉพาะนาย ส. และนาย ณ. มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกคนละ ๑๖ ปี ๘ เดือน
                ตามคำพิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้คดีหมายเลขแดงที่ ๓๐๖๙/๒๕๕๑ นาย ส. นาย ณ. นาย อ.

                และโจทก์ที่ ๑ ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า ให้ยกฟ้องจำเลยในคดีดังกล่าวทุกคน
                โดยศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๓ ตามคำพิพากษา

                ศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำที่ ๑๘๑๔/๒๕๕๒ หมายเลขแดงที่ ๗๖๕๗/๒๕๕๓  คดีดังกล่าวถึงที่สุด
                ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ตามหนังสือ
                รับรองคดีถึงที่สุด ในระหว่างที่คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้

                พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๖ ขอให้ถอนประกันโจทก์ที่ ๑ อ้างว่า
                โจทก์ที่ ๑ ข่มขู่พยาน จ้างให้พยานกลับคำและไม่ให้ไปเบิกความต่อศาล ศาลอาญากรุงเทพใต้

                มีคำสั่งให้ถอนประกันและออกหมายขังโจทก์ที่ ๑ ตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่
                ๘ ธันวาคม ๒๕๓๖ โจทก์ที่ ๑ ต้องถูกคุมขังเป็นเวลา ๔ เดือนเศษ ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
                ในระหว่างการพิจารณาอีกครั้งวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๗ ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๐

                โจทก์ที่ ๑ ยื่นฟ้องพนักงานอัยการที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่ฟ้องโจทก์ที่ ๑ รวม ๘ คน ต่อศาลอาญา
                กล่าวหาว่า เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ฟ้องเท็จ และกระทำการ
                ในตำแหน่งพนักงานอัยการเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ที่ ๑ กับพวกได้รับโทษ ศาลอาญาไต่สวนมูลฟ้อง

                แล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง โจทก์ที่ ๑ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ที่ ๑ ฎีกา
                ศาลฎีกาพิพากษายืนเช่นกันโดยศาลอาญาอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๔๖
                โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔

                     ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองข้อแรกมีว่า  คำฟ้องของโจทก์ทั้งสอง
                ขาดอายุความหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยก่อนว่า ความรับผิดของจำเลยทั้งสามและ

                กำหนดอายุความในคดีนี้ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
                ดังคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์หรือไม่  ซึ่งปัญหาดังกล่าวขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่า  เหตุละเมิด
                ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเกิดขึ้นก่อนหรือภายหลังวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ อันเป็นวันที่

                พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ เห็นว่า คดีในส่วนที่




                                                             อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔  55
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70