Page 67 - อัยการนิเทศ (หนังสือราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด) เล่มที่ 86 พ.ศ. 2564
P. 67
อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม ความรับผิดทางละเมิดของผู้ทำละเมิด
และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนี้ รวมทั้งอายุความในการฟ้องคดี ย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของ
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเมื่อคดีนี้ เป็นกรณีโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้
บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ผู้ทำละเมิด จึงต้อง
นำกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
กล่าวคือ โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องจำเลยทั้งสามภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่โจทก์ทั้งสองรู้ถึงการละเมิด
และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือภายในสิบปี นับแต่วันทำละเมิด โดยไม่จำต้องรอให้ศาล
ในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ที่ ๑ ก่อนดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกา ส่วนที่โจทก์
ทั้งสองฎีกาว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้รับความคุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่โจทก์
ทั้งสองยังไม่อาจใช้บังคับสิทธิเรียกร้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จนกว่าศาล
ในคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าโจทก์ที่ ๑ มิได้กระทำความผิด อายุความในการฟ้องคดีนี้
จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าโจทก์ที่ ๑ มิได้กระทำความผิดนั้น
ในข้อนี้ไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้ความคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของ
เจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการในลักษณะดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวในฎีกา และที่โจทก์ทั้งสองฎีกา
ด้วยว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริง
ตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา หากคำพิพากษาคดีส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุด ย่อมไม่มี
ข้อเท็จจริงปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จะนำมาเป็นสิทธิที่จะฟ้องคดีแพ่ง เป็นเหตุผล
อีกประการหนึ่งที่อายุความฟ้องคดีนี้ต้องเริ่มนับแต่วันที่ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า
โจทก์ที่ ๑ มิได้กระทำความผิดนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จากหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก
ตัวเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการที่อ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง ไม่ว่าศาล
ในคดีอาญาจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างไร ย่อมไม่ผูกพันหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจ
และพนักงานอัยการที่อ้างว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองอยู่แล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องรอให้
ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกา ฎีกาของโจทก์ทั้งสองดังกล่าว
จึงฟังไม่ขึ้น ปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปมีว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่
โจทก์ทั้งสองรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ คดีนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับ
จำเลยที่ ๑ นั้น เหตุละเมิดในกรณีแรก เรื่องการสืบสวน สอบสวนและมีความเห็นสั่งฟ้องโดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ ๑ เข้ามอบตัวและรับทราบข้อกล่าวหาจาก
เจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดของจำเลยที่ ๑ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๖ แสดงว่า โจทก์ทั้งสอง
ต้องรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๓๖
ส่วนเหตุละเมิดในกรณีที่ ๒ เรื่องการยื่นคำร้องขอให้ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งถอนประกัน
โจทก์ที่ ๑ โดยอ้างเหตุที่ไม่เป็นความจริงทำให้โจทก์ที่ ๑ ถูกคุมขังเป็นเวลา ๔ เดือนเศษนั้น
อัยการนิเทศ เล่มที่ ๘๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ 57