Page 12 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 12
หลักการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา
ในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
เนื้อหาในคู่มือเล่มนี้ ว่าด้วยการสาธิตกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยอิงตามกรอบการดำเนินงาน
ความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา ในแต่ละชุดกิจกรรม
หลักคิดในการจัดทำคู่มือจึงเป็นไปตามทฤษีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
คือ ใช้กระบวนการสร้างความรู้ ทักษะ และเจตคติ ด้วยการดึงประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาบูรณาการ
เพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่
วงจรการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ประกอบด้วย
1. การนำตัวเองเข้าไปอยู่ในประสบการณ์ หรือ สถานการณ์ใหม่ หรือ การตีความประสบการณ์ที่เกิดขึ้นมาใหม่
(Concrete Experience)
2. เมื่อเข้าไปรับประสบการณ์ใหม่นั้น ก็มักทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกันระหว่างประสบการณ์และความเข้าใจ
ในขั้นนี้เป็นการลองสะท้อน ลองทบทวนให้เกิดการตกผลึกความคิด ความรู้สึก และอารมณ์โดยอาศัยวิธีการ
ตั้งคำถาม (Reflective Observation of the New Experience)
3. แน่นอนว่าการสะท้อนมักก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ หรือ การดัดแปลงแนวคิดเชิงนามธรรมที่มีอยู่ ซึ่งหมายความว่า
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองแล้ว (Abstract Conceptualization)
4. การเรียนรู้จะไม่จบลงเพียงแค่การได้แนวคิดใหม่ ในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้ลองใช้ความคิดกับบริบทรอบตัวของตัวเอง
เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น (Active Experimentation)
07