Page 7 - คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตามกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษาในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา
P. 7

กรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้าน

              ในสถานศึกษา พ.ศ. 2565 - 2573

              ในประเด็นด้านสิทธิเด็กและการรู้รับปรับตัวในภาคการศึกษา




                 กรอบการดำเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา  พ.ศ.  2565  -  2573  เป็นเครื่องมือสนับสนุน
              ผู้กำหนดนโยบาย นักวางแผน ผู้บริหารสถานศึกษา และกลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการส่งเสริมงานด้านสิทธิเด็ก

              ความยั่งยืนและการรู้รับปรับตัวต่อภัยต่างๆ ในภาคการศึกษา

                     กรอบการดำเนินงานนี้เป็นแนวทางที่ครอบคลุมการส่งเสริมการรู้รับปรับตัวและเสริมสร้างความปลอดภัย
              จากภัยและความเสี่ยง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุปสรรคต่อครูและบุคลากรทางการศึกษาและระบบต่าง ๆ ในภาค

              การศึกษาและการปกป้องคุ้มครองเด็ก  นอกจากนี้  ยังส่งเสริมยุทธศาสตร์ในการเข้าถึงการจัดการ

              คุณภาพและการบริหารในภาคการศึกษาอีกด้วย


                   กรอบการดำเนินงานฯได้ให้หลักการสำคัญไว้ว่าแนวทางการลดความเสี่ยงและการเสริมสร้าง

                     การรู้รับปรับตัวนั้นจะต้องคำนึงถึง “ทุกภาคส่วนของสังคม” และ “ภัยทุกรูปแบบ”


                   ปัจจุบันยังมีครูและบุคลากรทางการศึกษามากมายที่เผชิญกับผลกระทบจากภัยอันตรายในหลากหลาย

              รูปแบบ เช่น ภัยคุกคามทางธรรมชาติและเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาดใหญ่
              (เช่น  โควิด-19)  ความรุนแรง  ความขัดแย้ง  และภัยคุกคามในชีวิตประจำวัน  สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบ

              ต่อการพัฒนาของเด็กและสังคมอย่างถาวร  โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงแตกต่างกันไป

              ตามเพศภาวะ ความพิการ และความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม


                เป้าหมายของกรอบการดําเนินงานความปลอดภัยรอบด้านในสถานศึกษา


              1. ปกป้องนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาจากการเสียชีวิต บาดเจ็บ ความรุนแรง รวมทั้งภัยอันตราย

              ในโรงเรียน และพื้นที่ที่จัดการเรียนการสอน
              2.  วางแผนความต่อเนื่องในการศึกษา  ตลอดจนป้องกันและลดการหยุดชะงักทางการศึกษาเมื่อเผชิญกับ

              เหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Shock) สถานการณ์ตึงเครียด (Stress) ภัยอันตราย  และภัยคุกคามทุกประเภท

              3. ส่งเสริมความรู้และทักษะของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยง
              การรู้รับปรับตัว และการพัฒนาที่ยั่งยืน



















                                                                                                                 02
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12