Page 16 - คู่มือการดำเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
P. 16
ค�ำถำมที่ ๖
เครื่องหมายที่ใช้ประกอบการเขียนภาษาไทยมี ๔ รูป คือ ์ ๆ ฯ ฯลฯ อยากทราบว่า
แต่ละเครื่องหมายใช้อย่างไร
ตอบค�ำถำมที่ ๖
๑. เครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ ) เขียนบนตัวอักษรพยัญชนะหรือบนตัวสระ เพื่อแสดงว่า
ตัวพยัญชนะ สระ หรือตัวพยัญชนะกับสระนั้นไม่ออกเสียง เช่น ศิลป์ ปาล์ม พันธุ์ สิทธิ์ ตัวพยัญชนะ
ที่ไม่ออกเสียงอาจมีหลายตัว เช่น ศาสตร์ กาญจน์ สิญจน์
๒. เครื่องหมายไม้ยมก (ๆ) เขียนข้างหลังตัวพยัญชนะและอยู่ในระดับเดียวกับตัวพยัญชนะ
ใช้แทนคำาที่กล่าวซำ้า เช่น ทุก ๆ วัน ทำาดี ๆ ทีละน้อย ๆ
๓. เครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) เขียนข้างหลังพยัญชนะและอยู่ในระดับเดียวกับตัวพยัญชนะ
ใช้แทนคำาที่ย่อให้สั้นลง เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ
๔. เครื่องหมายไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) เขียนในระดับเดียวกับตัวพยัญชนะ ใช้ละคำาหรือข้อความ
ที่ไม่ต้องการกล่าวถึง เช่น เรามีอาหารสดทุกชนิด ทั้งหมู เนื้อ ปลา กุ้ง ฯลฯ
ค�ำถำมที่ ๗
อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงพูดมีส่วนใดบ้าง
ตอบค�ำถำมที่ ๗
เพดานแข็ง
ช่องจมูก เพดานอ่อน
ปุ่มเหงือก ลิ้นไก่
ริมฝีปาก
ลิ้น
ฟัน
แผ่นเนื้อปากหลอดลม
เส้นเสียง โพรงคอ
รูปแสดงอวัยวะที่ใช้ในกำรออกเสียงพูด
10 คู่มือการดำาเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำาเร็จ
ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕